วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

มาตรฐานการทำงานก่อสร้าง

การก่อสร้าง จัดว่าเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายในการเกิดอุบัติเหตุในอันดับต้น  ๆ ของการทำงานอีกประเภทหนึ่ง ของงานที่เสี่ยงกับการเกิดอันตรายต่อชีวิต ถ้าพูดถึงการทำงานด้านก่อสร้างของผู้ใช้แรงงานก่อสร้างนั้น ในการคุ้มครองการทำงานของแรงงานนั้นก็มีกฏหมายหลายฉบับออกมาใช้บังคับว่า ผู้ที่ทำงานในงานก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นใครทำหน้าที่อะไรก็ตามอยู่บริเวณที่ทำงานก่อสร้าง หรืองานประเภทที่เสี่ยงอัตรายนั้นกฏหมายบังคับว่าต้องใช้อุปกรณ์อยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายขณะทำงาน







สิ่งที่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องเตรียมไว้ให้เพียงพอสำหรับ ผู้ที่ทำงานในงานที่ม่อันตราย  ถ้าไม่มีหรือมีผู้ที่ทำงานไม่ปฏิบัตตาม ในการที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยในขณะทำงานนั้น  ผู้ที่เป็นนายจ้างหรือผู้ที่ดูแลในการทำงานนั้นจะต้องมีความผิดตามกฏหมาย นั้น และต้องทำตามอย่างเคร่งครัด  โดยเฉพาะประเทศที่เจริญที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี หรือที่เรียกกันว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เรื่องการป้องกันความปลอดไมาให้เกิดอันตรายนั้น ประชากรของประเทศเหล่านั้นจะให้ความสำคัญมาก และเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้  โดยเฉพาะการที่ต้องเข้าไปทำงานในสถานที่อาจจะเกิดอันตรายได้ทุกเวลา เช่น งานเหมืองแร่  งานก่อสร้างอาคาร ก่อสร้างถนน  โรงหล่อ ขุดอุโมงค์  เป็นต้น โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม  ที่ต้องมีสภาพที่เสียงดัง พื้นเต็มไปด้วยเศษวัสดุ คราบนำ้มัน  ที่อาจจะเกิดอันตรายได้  ในบริเวณที่มีสภาพไม่ปกติ ไม่ว่าจะเป็นสียง กลิ่น ความร้อน  ความเย็น แสง และอื่น ๆ สิ่งเหล่าล้วนที่จะสามารถจะเกิดอันตรายได้กับ ทุกส่วนของร่างการยได้ตลอดเวลา ในประเทศที่พัฒนาแล้วผู้ที่ทำงานนั้น จะให้ความสำคัญอย่างมาก ทั้งภาครัฐบาล และส่วนบุคคล ถ้าไม่มีอุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว จะไม่ทำงานโดยเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะชีวิตของพวกเขามีค่ามาก  แต่ถ้าเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา หรือประเทศที่ล้าหลังก็จะล้าหลังทั้งด้านความคิด และวิธีการทำงานอันดับแรก เพราะคิดเหมือนกันว่าไม่เป็นไร  แค่นี้คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ความสูญเสียขึ้นมา ก็พูดต่อว่า "นึกว่าไม่เป็นไร  มันไม่น่าเกิดขึ้น" ก็คิดกัน และพูดกันตามมา จากรุ่นสู่รุ่น ไม่มีสำนึกที่จำไว้เป็นบทเรียน เตือนกัน แล้วหาแนวทางพัฒนาให้ดีกว่าเดิม โทษกันไปมา นายจ้างก็เห็นแก่ตัวไม่อยากลงทุนเพิ่ม ไม่หาอุปกรณ์ไว้ให้คนงาน คนงานก็มักง่าย เวลาทำงานก็ไม่อยากใส่  ไม่อยากสวมอุปกรณ์ป้องกันเรื่องความปลอดภ้ย ไม่ห่วงชีวิตของคนอื่น คิดแต่เรื่องต้นทุน และกำไรที่จะได้  เวลาเกิดความเสียหายแก่ชีวิต และร่างกายก็โทษกันไปมา ผู้ประกอบการก็เห็นแก่ตัว จ้องแต่ประหยัดต้นทุน ฝ่ายเดียว คนงานบาดเจ็บก็ไม่สนใจ ส่วนคนงานก็ไม่สนใจความเป็นอยู่ของต้นเอง  ไม่ยอมพัฒนาชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้น จำนนต่อโชคชะตาว่า ว่าตนเองเกิดมาเป็นชนชั้นใช้แรงงาน ไม่ยอมทำความเข้าใจในสิทธิของตนที่ควรจะได้รับ ซึ่งเรื่องนี้ ประเทศสิงค์โปร์ และประเทศมาเลเชีย ได้พัฒนาห่างไกลกว่าไทยไปหลายร้อยปีแล้ว แล้วเมื่อไหร่ไทยเราจะพัฒนาทัดเทียมเขาเสียที




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น