วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

งบก่อสร้าง 3 แสนล้าน


งบก่อสร้าง เขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แสนล้าน

ความคืบหน้าล่าสุดของการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ   EEC   ซึ่งผ่านความเห็นชอบร่างแผนพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกปี 2560-2564 อนุมัติ เรียบร้อยแล้ว
                แผนการงบการลงทุนที่บรรดานักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เฝ้าตั้งตารอคอย ก็ออกมาเรียบร้อยแล้วโดยมีเป้าหมายพัฒนาเขตลงทุนในจังหวัดเขตภาคตะวันออก 3 จังหวัด  ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทราชลบุรี และจังหวัดระยอง ครั้งนี้มีเงินลงทุนที่ใช้ในการอนุมัติสิน 3.1 แสนล้าน บาท  โดยฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะเร่งดำเนินการโครงการพัฒนาต่าง ๆ ในปี 2560-2564 ทั้งหมด 173 โครงการ   ประกอบด้วยงานพัฒนา 4 แผนงานหลัก ดังนี้



แผนบริหารจัดการโครงการ
งานแรกที่ต้องดำเนินการให้เรียบร้อย ก็เป็นเรื่องของบก่อสร้างสำนักงานเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อใช้เป็นสถานที่อำนวยการ บริหรจัดการโครงการ จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยจะใช้เวลา ประมาณ 1 ปี  ในการก่อสร้าง  ซึ่งใช้งบประมาณปี 2560 ในวงเงิน 1.7 ล้านบาท นอกจากนั้น ก็ยังมีงบในการศึกษาพัฒนาแม่บทพัฒนา EEC ต่ออีก 1 ปี  โดยใช้งบลงทุน 130 ล้านบาท

แผนพัฒนาสาธารณูปโภคและพัฒนาเมือง
การจัดการพัฒนาเมืองเศรษฐกิจใหม่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างปรับปรุงงานด้านสาธารณูปโภคและการวางแผนผังเมืองใหม่ เพื่อเตรียมรองรับการลงทุนที่จะทยอยขยายตัวมากขึ้น เช่นไฟฟ้าน้ำถนนที่อยู่อาศัยชื่อเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ก็ต้องจัดเตรียมให้เรียบร้อยก่อนที่โรงงานอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจพิเศษจะเกิดขึ้นนอกจากนั้นการขยายตัวของอาคารที่อยู่อาศัยอาคารพาณิชย์และจำนวนผู้คนก็จะมากขึ้นด้วยซึ่งทางกรมโยธาธิการและผังเมืองก็จะเข้ามาดำเนินการ วางแผนกำหนดผังเมืองใหม่โดยกำหนดพัฒนาเมืองให้รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ  เขตอุตสาหกรรมการขนส่ง พร้อมที่อยู่อาศัย  ชุมชน  การค้าขายและเป็นไปตามการใช้ประโยชน์ให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่
                การก่อสร้างและการพัฒนาสาธารณูปโภค  สาธารณูปการให้เพียงพอต่อความเป็นเมืองเขตอุตสาหกรรมพร้อมรับเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ แม้แต่หน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน  ก็จะต้องมีการปรับตัว ปรับปรุง พัฒนา ให้พร้อมกับเมืองใหม่  นอกจากนั้นก็จะต้องมีการขยาย และสร้างถนนเส้นใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นและให้มีมาตรฐานสามารถรองรับระบบขนส่ง แบบโลจิสติกส์  รวมทั้งระบบสาธารณูปโภค  ไฟฟ้า  ประปา  การสื่อสาร ก็ต้องขยายมากขึ้นเช่นกัน เพื่อให้รองรับการใช้งานได้ มากกว่า 20 ปี ขึ้นไป

การพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์
                การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเป็นการพัฒนาเพื่อรองรับการขนย้ายขนถ่ายสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมไปยังท่าเรือขยายปรับปรุงถนนให้มาก และเป็นมาตรฐานมากขึ้นจะทำให้ระบบการจัดการโลจิสติกส์บริการขนย้ายสินค้ามีความสะดวก  รวดเร็ว ในอันที่จะปลอดภัย ทั้งสินค้า และชีวิต สนับสนุนพัฒนาระบบขนส่งให้มีมาตรฐานต้องพัฒนาทุกระบบให้ไปพร้อมกันทั้งทางน้ำทางบกและทางอากาศ ให้มีความทันสมัยเชื่อมโยง รองรับกันให้ได้มากที่สุด  ซึ่งต้องเร่งพัฒนา อย่างเร่งด่วน อันประกอบด้วย
                ทางบก
                เริ่ม
ก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ส่วนขยายเพิ่มเติม ในเส้นพัทยาไปถึงมาบตาพุด  นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงถนนการขนส่งมีการเชื่อมกันเป็นระบบได้มาตรฐานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการขนส่งที่จะมีมากขึ้น  ตลอดจนทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงชนบทให้เชื่อมกันภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ 3 จังหวัดเพื่อให้การจราจร  การขนส่ง คลองตัว ปลอดภัย ลดความแออัดของการเดินทาง เพราะการขนส่งในเขต เศรษฐกิจพิเศษ นี้จะขยายตัวมากขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

                ระบบรถไฟรางคู่
ก่อสร้างรถไฟรางคู่จากฉะเชิงเทรา ไปคลอง 19 และถึงอำเภอแก่งคอยจังหวัดสระบุรี  ก็ได้รับอนุมัติการก่อสร้างไปเรียบร้อยแล้วอยู่ในขั้นตอนเร่งดำเนินการส่วนเส้นรถไฟรางคู่ที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้  ก็มีจากจุดเริ่มต้นอำเภอศรีราชาผ่านเขาชีจันทร์  ผ่านมาบตาพุด  มาถึงระยอง  และไปสิ้นสุดที่จังหวัดตราด
                รถไฟความเร็วสูง
                ส่วนรถไฟความเร็วสูงเริ่มจากกรุงเทพ ผ่านเมืองพัทยา ไปสิ้นสุดที่สถานีจังหวัดระยอง  นอกจากนั้นยังได้เริ่มโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟ อู่ตะเภา  และพัฒนาพื้นที่รอบ ๆ สถานีเพื่อหาประโยชน์จากการใช้พื้นที่รอบสถานีในเชิงพาณิชย์ต่อไป
  
ทางน้ำ
การพัฒนาขนส่งทางน้ำก็เป็นเป็นการต่อยอดจากการขนส่ง สินค้า ที่จะรองรับมาจากการขนส่งทางบก ที่จะลำเรียงสินค้ามาลงท่าเรือ  แล้วออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศแถบยุโรปให้มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับของสากลรองรับและขนส่งสินค้าที่เป็นมาตรฐานสากลในระดับนานาชาติ


ท่าเรือแหลมฉบัง
                ท่าเรือแหลมฉบังจะได้รับการพัฒนาและขยายศูนย์รับส่งสินค้าให้ทันสมัยมากขึ้น  โดยปัจจุบัน ได้ปรับปรุงพัฒนาเทียบท่าเรือที่มีอยู่เดิมให้เป็นระบบทันสมัยมากขึ้นขณะเดียวกันก็กำลังก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเพิ่มขึ้นอีก ในระยะที่ 3 อีกแห่ง  นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงพื้นที่  อาคารที่พัก อาคารโกดังสินค้า พร้อมทั้งอุปกรณ์เทคโนโลยี ให้ทันสมัยตลอดจนการบริหารจัดการให้ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับระดับสากลอีกด้วย


ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ
                ตอนนี้กำลังปรับปรุงต่อเติมพัฒนาท่าเรือสัตหีบให้มีความทันสมัยมากขึ้นเช่นกันเพื่อให้เป็นท่าเรืออเนกประสงค์คือสามารถรองรับได้ทั้งนักท่องเที่ยวและการขนถ่ายสินค้าตลอดจนการทำการปรับปรุงและขยายอาคารรองรับผู้โดยสาร  เนื่องจากท่าเทียบเรือสัตหีบแห่งนี้ เป็นพื้นที่อยู่ช่วงระหว่างอ่าวไทย  ซึ่งติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จะมีเรือนานาชาติเข้ามาจอดเทียบท่าอยู่บ่อยๆ จึงทำให้สามารถพัฒนาเป็นแหล่งหารายได้ในเชิงธุรกิจท่องเที่ยวได้อีกแห่งหนึ่ง
สนามบินอู่ตะเภา

                เดิมสนามบินแห่งนี้เป็นที่ทำการของทหารเรือ เป็นสนามบินที่ใช้เฉพาะของกองทัพเรือ   ต่อมาทางรัฐบาลมองว่าน่าจะพัฒนาในเชิงพานิชย์ได้ด้วย  จึงกำหนดนโยบายให้ทำการปรับปรุงพัฒนาสนามบินแห่งนี้ให้เป็นสนามบินที่สามารถของรับในเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกการเดินทางของผู้โดยสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                นอกจานั้นสนามบินอู่ตะเภาแห่งนี้ ยังได้กำหนดให้เป็น
ศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศและระบบโลจิสติกส์(Air Cargo and  Logistics Hub) พร้อมกับได้กำหนดให้จัดตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยาน และศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรทางด้านการบิน อีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอพื้นที่แห่งนี้  ยังได้ถูกเลือกให้เป็นเขตพื้นที่เขตการค้าพิเศษเสรี  (Free Trade Zoon)  หรือเรียกกันว่า เขตปลอดภาษี  นั้นเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น