วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รอยร้าวบ้าน อาคารแก้ไขได้

บ้าน อาคาร หรือที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่สำคัญของมนุษย์ เพราะเป็นสถานที่อาศัย หลบภัย พักผ่อน และอื่น ๆ ที่ผู้อยู่อาสัยต้องการที่จะให้เป็น แต่เมื่อเกินสิ่งที่บ่งบอกว่าอาจไม่ปลอดภัย ในการใช้ขึ้นมา  เช่น  เกิดพื้นทรุด  พื้นร้าว  ผนังบ้านเกิดรอยร้าว เกิดรอยแตกแยก  เสา คาน มีรอยแยก นั้นย่อมทำให้ผู้อาศัยรู้สึกไม่สบายใจ     
   

            ปัญหาดังกล่าวนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องด่วนของผู้ที่เป็นเจ้าของ และผู้ที่พักอาศัย ถ้าไม่ดำเนินการแก้ไขประการแรกผู้ที่พักอาศัยย่อมเกิดความไม่สบายใจ เนื่องจากว่าอาจเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินถ้าทิ้งไว้นานวัน
            ดังนั้นต้องรีบดำเนินการแก้ไข โดยปรึกษาช่าง หรือผู้มีประสบการณ์ในงานช่างมาดู และพิจารณาว่าจะแก้ไข ซ่อมแซม ด้วยวิธีใด  เกิดความเสียหายตรงไหน บริเวณใดเพิ่มเติม หรือไม่อย่างไร แต่การเรียกช่างมาสำรวจความเสียหานั้นเราต้องอย่าด่วน ตัดสินใจตกลงซ่อมก่อน ที่จะพิจารณาให้รอบคอบ จนแน่ใจก่อน เพราะช่างส่วนมากแล้วอาจจะไว้ใจได้ยาก อาจจะรับปากว่าซ่อมได้ ซ่อมเร็ว ซ่อมดี เพราะต้องการเงินค่าซ่อม แต่เมื่อดำเนินการซ่อมไปแล้ว อาจทำให้เจ้าของ ปวดหัวมากขึ้น ก็ได้นอกจากซ่อมไม่ได้มาตราฐาน งานไม่จบแล้ว อาจจะถูกทิ้งงาน ไป โดยเบิกค่าจ้างไปหมดแล้ว

            และประการสำคัญช่างบางรายอาจเสนอราคาค่าซ่อมแซม ในราคาสูงเกินความเป็นจริง เนื่องจากเราไม่รู้อะไรเลยว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น มากน้องเพียงใด นอกจากจะเสียรู้ช่างที่มซื่อสัตย์ แล้วยังจ่ายเงินมากเกินความเป็นจริงได้ ดังนั้นเราต้องมีความรู้ความเข้าใจในการซ่อมแซม ปรับปรุง แก้ไข ในเรื่องนี้ไว้บ้าง แม่เราจะไม่ใช่ช่างอาชีพก็ตาม เพื่อจะได้รู้เท่าทันช่างนั้นเอง หรือแม้แต่ถ้าเกิดรอยร้าวเพียงเล็กน้อยเราก็อาจจะสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองได้เช่นกัน 



            รอยร้าว  รอยแตก  รอยแยก ที่เกิดขึ้นในอาคาร บ้านพัก ย่อมเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ บางครั้งอาจเกิดเพียงจุดเล็ก ๆ  บ่างครั้งอาจเกิดขึ้นบริเวณกว้าง เมื่อเกิดชึ้นประการแรกต้องเข้าไปพิจารณาว่าเกิดขึ้นบริเวณไหนและพื้นที่นั้นเชื่อมกับโครงสร้างส่วนใดของอาคาร บางครั้งรอยร้าวนั้น อาจเกิดจาก การทรุดตัวของ เสา  ของคาน  ของพื้นดิน หรือเกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่มีอายุการใช้งานมาหลายปี ก็ได้ รอยร้าวเกิด ที่เกิดขึ้นในบ้านพัก อาคารพานิชย์ หรือคอนโดมีเนียม และอื่น สามารถแบ่ง ออกได้ 3  ประเภท
            รอยร้าวที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของวัสดุ
 รอยร้าวประเภทนี้จะเกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของวัสดุที่ใช้มานาน เนื่องจากอาจจะเปลี่ยนไปตามคุณภาพของวัสดุ ที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความร้อน ความเย็น  การสั่นสะเทือน ฝนตก น้ำท่วม และได้รับสารปนเปื้อนอื่น ๆ  จึงทำให้โครงสร้างของวัสดุเหล่านั้นได้รับแล้วเกิดความเสื่อมไม่คงเดิม ของคุณภาพ หรือทำให้อายุการใช้งานนั้นสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น
            รอยร้าวที่เกิดจากโครงสร้างนั้นรับน้ำหนักมากเกินกำลัง
โครงสร้างที่จะเกิดรอยร้าวประเภทนี้ อาจเป็นโครงสร้าง  ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักขนาดของวัตถุที่มีปริมาณน้ำหนักต่ำ หรือบ้าน อาคารที่ออกแบบมามีขนาดเล็ก แต่ต้องมารองรับสัมภาระ หรือบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่ได้ออกแบบไว้  จึงทำให้เกิดรอยร้าว นั้นขึ้นมาได้

รอยร้าวประเภทนี้ เกิดขึ้นจากสาเหตุฐานรากของตัวอาคาร หรือตัวตึกนั้นทรุดตัว อาจเกิดจากวัสดุรองรับฐานรากเสื่อมสภาพ หรือพื้นดินยุบ พื้นดินทรุด ก็ทำให้ตัวอาคาร ตัวตึกเอียง ทำให้เกิดการดึงตัว เสียรูป เอียงตัว แล้วเกิดแตกร้าว
แนวทางการแก้ปัญหา
            เมื่อเกิดความเสียหายจากตัวอาคาร ก่อนอื่นต้องทำการสำรวจความเสียหายก่อน ว่ารอยร้าวนั้นเกิดจากอะไร บริเวณไหน แล้วต้องแจ้ง และปรึกษาช่าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ เพื่อเข้ามาดำเนินการแก้ไข โดยเราต้องได้ทราบว่ามีสาเหตุจากอะไร จึงค่อยวางแผนการซ่อมไปตามลำดับ ซึ่งในขั้นตอนการซ่อม รอยร้าวนั้นมีข้อควรพิจารณา  แบ่งออก  3  กรณี


กรณีที่รอยร้าวเกิดจาก การเสื่อมสภาพของวัสดุ
กรณีนี้สิ่งที่ต้องพิจารณาอันดับแรก คือตรงบริเวณ เสา  คาน และบริเวณพื้นคอนกรีต ขี้นตอนแรกก็ทำการทุบ กระเทาะคอนกรีต ที่ปิดเหล็กตรงคาน  หรือเสาก่อน  โดยเมื่อกระเทาะปูนหรือคอนกรีต ออกจนถึงเนื้อเหล็กก่อน  แล้วค่อยทำการก่ออิฐ แล้วควรก่อตั้งคาน หรือเสาใหม่  แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรกระเทาะปูน  ไม่ควรให้ลึกไปถึงเนื้อคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่ภายใน
            เมื่อ ก่ออิฐหรือเทปูนใหม่ นั้นควรใช้น้ำยาประสานผสมไปด้วย เพื่อให้เนื้อปูนเก่ากับเนื้อปูนใหม่ผสมผสานกันได้ดีมากขึ้น
            ถ้าเป็นการเทปูน ก่อปูนตรงบริเวณร่องคอนกรีต  หรือซอกลึกต้องหยอดปูนเข้าไปในซอกเล็ก ๆ ลึก นั้นให้เต็ม ประการสำคัญคอนใช้คอนกรีตชนิดไม่หดตัวแม้ขณะเวลาแข็งตัว  เพราะถ้าเกิดการหดตัวของคอนกรีตบริเวณรอยร้าวเดิม อาจเกิดรอยร้าวได้อีกครั้งก็ได้  สมมุติว่าถ้าเป็นการซ่อมผนังบ้าน หรือผนังตึก ที่มีรอยร้าวเกิดขึ้นประการแรก ควรแนะนำให้ช่าง ทำการทุบหรือกระเทาะเปิดรอยร้าวนั้นให้มีขนาด และบริเวณที่กว้างขึ้นพอสมควร แล้วใช้ตาข่าย หรือใช้กรงไก่มาวางครอบ รอยร้าวนั้นไว้ก่อน  เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงทำการฉาบปูนปิดบริเวณนั้นให้สนิท การปฎิบัติเช่นนี้ก็เนื่องจาก ถ้าปูนที่ฉาบแห้งตัวลงแล้วเกิดการหดตัว จะทำให้สามารถยึดเกาะเนื้อปูนกันได้ดี และแน่นขึ้น จะไม่ทำให้เกิดรอยร้าวได้อีก

            ปัญหาโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป
การออกแบบโครงสร้างบ้านและอาคาร หรือตัวตึกนั้นปกติที่เราพบเห็นโดยทั่วไป บางครั้งก็มีขนาดเล็ก  บางตึกก็มีขนาดใหญ่ ถ้าเราพูดตามภาษาชาวบ้านทั่ว ๆ ไป คือบ้านหลังเล็กก็มีโครงสร้างขนาดเล็ก  โครงสร้างเบาก็รองรับน้ำหนักได้น้อย ส่วนบ้านหรือตึกที่มีขนาดใหญ่ ก็ต้องมีโครงสร้างอย่างแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักในบริมาณที่มากตามไปด้วย  ก็คล้าย ๆ กับรถยนต์ ถ้าคันเล็กมีแรงม้าต่ำ ก็สามารถบรรทุก สัมภาระได้น้อย แต่ถ้าเป็นรถยนต์คันใหญ่มีกำลังแรงม้าสูง ๆ ก็สามารถบรรทุกสินค้าได้ในบริมาณมากกว่า เช่นเดียวกัน

            เปรียบเทียบกันง่าย ๆ       ถ้าบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่หลังเล็ก ๆ  แต่ผู้ที่อาศัย อยู่กันหลายครอบครัว ประกอบกับ ยังมีตู้เย็น  เครื่องซักผ้า ตู้ เตียง เฟอร์นิเจอร์ และอื่นอีกมากมาย นำเข้ามาเก็บไว้ในบ้าน จนทำให้บ้านนั้นรับน้ำหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ  ก็มีผลกระทบกับตัวบ้าน ประเภท เสา คาน  พื้น ต้องรองรับน้ำหนักที่มากขึ้น เกินกว่าที่ระรับได้  ดังนั้นย่อมมีโอกาส ที่ คาน   เสา  พื้นของบ้าน  จะแยก ร้าวและทรุดตัว  ผนังบ้านอาจเกิดรอยร้าวได้  ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นนี้   จะทำให้ผู้ที่อาศัยอาจเกิดความไม่สบายใจ   บางครั้งอาจตกใจ เช่น  ผนังบ้าน ผนังตึกเกิดรอยร้าว  เสา คาน แตกแยก  เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้เจ้าของต้องรีบทำการแก้ไข ด่วน  โดยต้องรีบปรึกษาช่าง หรือผู้ที่มีความรู้มีประสบการณ์ในงานก่อสร้างโดยตรง  ส่วนการแก้เบื้องต้น ที่ควรรู้ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ หรือผู้ที่จะเข้ามาซ่อมแซมแก้ไข นั้น ต้องทราบ และดำเนินการแก้ไข ให้เป็นไปตามขั้นตอนที่เหมาะสม ดังนี้
            หาสาเหตุของปัญหา
ประการแรกผู้ที่จะเข้ามาซ่อมแซมควรมาศีกษา หาสาเหตุเบื้องต้นก่อนว่า เกิดจากส่วนใด บริเวณที่เกี่ยวของอยู่ตรงไหน แล้วค่อทำการเสริมโครงสร้างเหล็กใหม่  จึงค่อยทำการฉาบปูนปิดรอยร้าวนั้น   ส่วนการเสริมเหล็กตรงโครงสร้างนั้นควรใช้เหล็กรูปพรรณ  หรือใช้แผ่นคารณบอนไฟเบอร์  หรือวัสดุอื่นที่ช่างหรือวิศวกร พิจารณาว่าเหมาะสมใช้ร่วมกันได้ดี  มีคุณภาพที่ใช้มาหนุนเสริมให้โครงสร้างนั้นมีความแข็งแรงมากขึ้น  ซึ่งแต่ละขั้นตอนควรอยู่ในความควบคุมของช่างและวอศวกรที่มีประสบการณือย่างใกล้ชิด
            ติดตามรอยแตกร้าว
เมื่อช่างได้ดำเนินการซ่อมแซม เสริมโครงสร้างนั้นเรียบร้อยแล้ว   ก็ต้องปล่อยทิ้งไว้ประมาณชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน  หลังจากนั้นก็กลับมาสำรวจ ตรวจตรงจุด หรือบริเวณที่เกิดรอยร้าวนั้น ว่ามีรอยร้อย รอยแยก เกิดขึ้น เพิ่มเข้ามาอีกหรือไม่  ถ้ายังมีรอยร้าวเพิ่มขึ้น นั้นก็แสดงว่า การซ่อมแซมโครงร้างเสริมเหล็กนั้น ยังไม่ได้มาตรฐาน ต้องทำการแก้ไขใหม่  อีกครั้ง  แล้วกลับมาตรวจรอยร้าวมาเพิ่ม ขึ้น หรือคงเดิม  ถ้ารอยร้าวนั้นคงเดิม แสดงว่าการแก้ไขตรงจุด  ก็ดำเนินการแก้ไข ซอมแซมบริเวณรอยร้าวได้ทันที



            ขั้นตอนการซ่อมแซมรอยร้าว
เมื่อปรับแก้โครงสร้างเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งเราพิสูจน์ได้จากการ ตรวจรอยร้าวเดิมนั้น ไม่เพิ่มขึ้น  ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการแก้ไข  ซ่อมแซมบริเวณรอยร้าว ขั้นตอนนี้  ช่างก็สามารถนำสารเคมี ที่เราเรียกว่าน้ำยาอุดรอยรั่ว  อุรอยแยก เข้าไปฉีดแทรกตรงบริเวณ รอยแยก  รอยร้าว และรอยแตกนั้นได้ทันที เพื่อให้สารนั้นเข้าไปเชื่อม ประสานรอยนั้น ให้ชิด สนิทติดกับเนื้อคอนกรีตเข้าด้วยกัน  เพื่อให้ลบรอยร้าว รอยแยกนั้น และเสริมให้คอนกรีตแข็งแรงขึ้น เหมือนเดิม
--------------------------------------------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น