วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กำหนด SPEC การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ



             ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ในการประมูลงานของภาครัฐนั้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจะจัดซื้อจัดจ้างนั้น  ต้องกำหนด สเปค (SPEC)  ของสิ่งที่ต้องการในการจำซื้อจัดจ้างก่อน ซึ่งเรียกว่าการเขียน หรือจัดทำ TOR ( Terms of Reference) กันก่อน
            การจัดซื้อจัดจ้างนั้น เป็นทั้งนโยบาย  กำหนดในข้อกฎหมาย   ที่เป็นแนวทาง วิธีปฎิบัติการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ  ที่กำหนดรายละเอียด  ข้อบังคับต่าง ๆ ในการที่หน่วยงานของภาครัฐ  จะทำการจัดซื้อวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ หรือจัดจ้าง ให้หน่วยงานอื่น มาทำงานให้กับภาครัฐ นั้น  เพื่อให้วิธีการจัดซื้อจัดข้างนั้นเป็นไปตามระเบียบและเป็นแนวทางที่เหมาะสม  มีมาตราฐานนั้น จัดได้กำหนดที่จะยึดเป็นแบบเดียวกัน เรียกว่า “  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ..  2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
            ซึ่งในปัจจุบัน หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดซื้อ จัดจ้างนี้ อยู่ในสังกัด ของกรมบัญชีกลาง  ที่มีชื่อว่า “สำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ”

            ซึ่งถ้าภาคธุรกิจใดที่มีความต้องการ หรือสนใจ  จะประมูลงาน  เพื่อจะเสนองานเพื่อจัดซื้อจัดจ้างก็สามารถติดต่อได้โดยตรง  ซึ่งจะมีข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ่งไว้คอยบริการมากมายทั่วประเทศ และนอกจากนั้นยังสามารถเข้ามาติดตามข้อมูลหารายละเอียดได้ที่เว็บไซค์ตลอดเวลา  ซึ่งแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้างนั้นได้กำหนดหรือแบ่งวิธีการจัดซื้อจัดจ้างไว้ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 6  ประเภทด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย
            วิธีตกลงราคา  วิธีสอบราคา   วิธีประกวดราคา  วิธีพิเศษ  วิธีกรณีพิเศษ  และวิธี ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E- Auction)

          โดยแต่ละวิธีก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ไป ตามข้อกำหนด ของวงเงินที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง และก็แบ่งรายละเอียดข้อปลีกย่อยออกไปอีก  3   กรณี
            #  กรณีที่ใช้วงเงิน เป็นตังกำหนด   ซึ่งก็แบ่งออกเป็น  3   วิธี
                          วิธีตกลงราคา เป็นการจัดหาครั้งหนึ่ง ไม่เกิน  100,000 บาท
                       
  วิธีตกลงราคา  วงเงินเกิน  100,000 บาท   แต่ไม่เกิน 2,000,000  บาท
                       
วิธีประกวดราคา  จำนวน วงเงินเกิน 2,000,000  บาท
             #    กรณีที่ใช้วงเงิน    และใช้เงื่อนไขอื่น เป็นตัวกำหนด 1   วิธี
                          วิธีพิเศษ  ใช้วงเงินเกิน  100, 000  บาท  และต้องมีรายละเอียดหรือเหตุผล ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ 2535  และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ตาม ข้อ  23 และ ข้อ 24)
            #   กรณีที่ใช้เงื่อนไข  ไม่จำกัดวงเงิน 
                          วิธีกรณีพิเศษ  เป็นการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ที่ได้รับสิทธิพิเศษ จากหน่วยงานราชการ  รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ   และวิธีนี้ก็แบ่งออกตามเงื่อนไขอีก    2    ประเภท ดังนี้
1)      ประเภทบังคับ   หมายถึง สิทธิพิเศษที่บังคับให้ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานของรัฐ  ต้องสั่งซื้อหรือจัดจ้าง จากหน่วยงานภาครัฐ  รัฐวิสาหกิจ  ที่ได้รับสิทธิพิเศษนั้น เท่านั้น  ยกตัวอย่าง กระทรวงกลาโหม  ต้องทำการจัดซื้อจัดจ้าง รองเท้าหนัง   จากองค์การฟอกหนัง  โดยตรงเท่านั้น จะไปพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานอื่นใด ไม่ได้ เป็นต้น
2)      ประเภทไม่บังคับ  เป็นสิทธิพิเศษ ที่เปิดโอกาสให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานอื่นของภาครัฐ สามารถจะพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้าง นั้น จากหน่วยงานที่ได้รับสิทธิพิเศษนั้นได้ หรือไม่ก็ได้

            ซึ่ง รายละเอียดนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับหน่วยงานภาคเอกชน  ที่สนใจจะเข้าร่วมประมูลงานกับภาครัฐ   และพิจารณาคุณสมบัติของหน่วยงานของตนว่า เหมาะสมเข้าข่ายที่จะเข้าไปหางานกับภาครัฐ นั้นหรือไม่อย่างไร   และมีเงื่อนไข ที่ต้องปรับปรุง ให้มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของหน่วยงานที่เปิดจัดซื้อจัดจ้างอย่างไร

 การกำหนด SPEC จัดซื้อจัดจ้าง
            การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นแนวทางหรือวิธีปฎิบัติของทางราชการที่มีเป้าหมายในเรื่องของการจัดหา จัดซื้อสินค้า  วัสดุ อุปกรณ์ ต่าง ๆ  ตลอดจนการจัดจ้าง เพื่อให้ทำงานการก่อสร้าง การปรับปรุง และอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการของผู้ว่าจ้าง    ซึ่งสิ่งที่มานั้นจะนำมาใช้ ในงานของทางราชการเองโดยตรง  หรือนำมาจัดสรรให้บริการแก่ประชาชน   ชุมชน  หน่วยงานต่าง ๆ  ที่ได้รับการอนุมัติตามนโยบายของภาครัฐ 
            ดังนั้นแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างงานนั้น จึงได้เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นแนวทางในการปฎิบัติ  เพื่อให้ได้เหมาะสม  ถูกต้อง มีคุณสมบัติตรงครบถ้วน  เพื่อให้ทางราชการและการบริการประชาชน นั้นจะได้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นเอง     แนวทางในการจัดซื้อจัดจ้าง  นั้นเรื่องแรก เรียกกันว่า การกำหนดสเปค  (SPEC)  การกำหนดสเปค นั้นเป็นการวางกรอบ หรือคุณสมบัติในเรื่องนั้น ๆ  ขึ้น  เพื่อให้ได้ชิ้นงานตามที่ผู้ใช้ต้องการนั้นเอง
            คำว่า สเปค ย่อมาจาก  คำว่า Specification   หมายถึง   ข้อกำหนด ทางเทคนิคที่จัดทำแบบทาง   เอกสาร    ที่กล่าวถึง  ความต้องการ ของหน่วยงาน  ของเจ้าของงาน หรือของผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการ   เพื่อแจ้งหรือส่งไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  ผู้ที่มีส่วนได้เสีย (stakeholders)   เช่นเรื่องของการก่อสร้าง   งานผลิต  งานจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์    โดยมีเป้าหมาย   เพื่อกำหนด ขอบเขต  ขอบข่ายงาน  มาตรฐานที่ต้องการให้ใช้  ชนิด  ขนาด และรายละเอียดของวัสดุ   เครื่องจักร  เครื่องมือ  ในงานนั้น ๆ


            เมื่อกำหนด สเปคได้แล้วประการต่อมาก็ต้อง เขียน หรือจัดทำ TOR  (Terms Of  Reference)  ซึ่ง TOR  นี้จะ หมายถึง  ข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง  TOR  เป็นเอกสารที่ต้องจัดทำขึ้นเพื่อกำหนด   ขอบเขต  และรายละเอียด  ของผู้ที่ว่าจ้างว่าต้องการให้ผู้รับจ้างทำหรือดำเนินการ  โดยต้องเขียนกำหนดกรอบของงานที่ต้องการให้ชัดเจน   ตลอดจนเวลาเริ่มงาน   เวลาจบงาน    คุณสมบัติของผู้ที่จะมาเสนอราคา ข้อกำหนดและขั้นตอนต่าง ๆ  ที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ดำเนินการ  ตลอดจนค่าปรับ เมื่อการทำงานนั้นไม่เป็นไปตามสัญญา  เพื่อประกาศให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ศึกษา ได้รับทราบ  และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงาน ที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้าง ได้ทราบว่าเข้าข่ายหรือมีความสมารถที่จะเข้าไปรับประมูลงานนั้นหรือไม่ อย่างไร  ที่จะเข้าไปดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามประกาศนั้นหรือไม่
            ส่วนขอบเขตของงาน TOR  หรือการกำหนดคุณสมบัติ คุณลักษณะเฉพาะ ในการจัดวื้อจัดจ้างนั้น  ประการแรกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เขียน หรือผู้จัดทำนั้น  ก่อนอื่นต้องพิจารณาและศึกษารายละเอียด  ระเบียบ คำสั่ง  ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.2535 และแกไขเพิ่มเติม  และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจก่อน  เพราะรายละเอียดต่าง ๆ  ที่เขียนหรือกำหนดขึ้นมานั้น  นอกจากจะให้เป็น ไปตามที่ผู้รับจ้างต้องการแล้ว  ก็ยังมีผลในทางกฎหมายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
            ดังที่ทราบแล้วว่า การเขียน  TOR  เป็นการเขียนสิ่งที่ต้องการของผู้จ้างที่อยากจะได้ จากผู้รับจ้าง  ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ประกอบการที่มีความสนใจในงานของภาครัฐ  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่าน ทำความเข้าใจ ในรายละเอียด  ทุกประโยค  ทุกข้อความ ทุกบรรทัด ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการประมูลงาน  เพราะอาจมีข้อความที่ไม่ชัดเจน  คลุมเครือ  ไม่โปร่งใสซ่อนเล้นอยู่ บางประโยค ก็มีความหมาย ที่จะให้ตีความกว้างมากเกินไป   ซึ่งตรงจุดนี้อาจทำให้เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณา ใช้ดุลยพินิจพิจารณากว้างเกินออกไป  อาจเกิดปัญหา ส่อว่า  ข้อความดังกล่าวอาจเป็นปลายเปิด เปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่ไปในทางไม่โปร่งใส ในการแข่งขันประมูลงานนนั้นได้

            เรื่องนี้ก็มีตัวอย่างจริง จากการเขียนรายละเอียด ของ  TOR ของหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง  ที่มีข้อความอาจจะเปิดช่องให้การประมูลงาน นั้นเข้าข่ายการกีดกั้น การประมูลงาน  โดยได้รับการเปิดเผยในข้อสงสัยจากผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างรายหนึ่งว่า
            เมื่อประมาณปลายปี 2559   มีหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้ประกาศจ้างงานก่อสร้างอาคาร  ประเภทศาลากลางจังหวัด และศูนย์ราชการจังหวัด ให้กับส่วนราชการภายในสังกัด หลายแห่ง   และเมื่อผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างดังกล่าวได้อ่าน และศึกษาข้อความใน
TOR  อย่างละเอียดแล้ว  และเกิดความสงสัยไม่เข้าใจในข้อกำหนด เรื่องคุณสมบัติ ของผู้ที่จะเข้ามารับเหมาว่า อาจจะเข้าข่ายไม่โปร่งใส และจะมีการล็อคสเปค กันหรือไม่
            ตัวอย่างเอกสารนั้นมีข้อความว่า  ประกวดราคา ก่อสร้างศูนย์ราชการจังหวัด  วงเงิน   600  ล้านบาท  ระบุว่า  เป็นอาคารเอกลักษณ์ และมีลักษณะสถาปัตยกรรมไทย  นอกจากนั้นยังกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลไว้อย่างน่าแปลกว่า  "ผู้ยื่นซองประกวดราคา  ต้องมีผลงานด้านก่อสร้างอาคาร   สำนักงาน  หรืออาคารสาธรณะ ขนาดใหญ่ที่เป็นงาน สถาปัตยกรรม และเป็นอาคารสูง ไม่น้อยกว่า 4  ชั้น"
            ในกรณีนี้ ผู้รับเหมาดังกล่าวเกิดความสงสัย แล้วก็ไปสอบถามจากวิศวกร และนักวิชาการก่อสร้างจากหลายสถาบัน  รวมทั้งผู้รับเหมาก่อสร้างหลายราย  ต่างข้อมีข้อพิจารณา ที่เป็นข้อสงสัยร่วมกันว่า
            ประการที่ 1 การเขียน TOR  ลักษณะนี้  มีข้อสงสัยคาดว่า อาจเปิดช่อง  ให้กรรมการจัดซื้อจัดจ้าง  ที่เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจ  พิจารณาตีความว่า ผลงานของผู้ใด เข่าข่ายหรือไม่เข้าข่าย ที่เป็น  “สถาปัตยกรรมไทย  หรือไม่นั้นได้กว้างมาก   เนื่องจากคำนี้ไม่มีคำจำกัดความ ที่ชัดเจนนั้นเอง
            ประการที่ 2  การเขียน ในประโยคดังกล่าวน่า จะเป็นเจตนาจำกัดสิทธิ์การเข้าร่วมประมูล  หรือมีจำนวนน้อยลงหรือไม่  เนื่องจากรูปแบบของอาคารและศุนย์ราชการโดยทั่วไป และในอดีตนั้น  ก็ไม่มีอาคารใดที่มีความซับซ้อนหรือเป็นงานแบบประณีตศิลป์ ประเภทสถาปัตยกรรมไทย เลย
           


ประการที่ 3  การเขียน นั้นยังได้กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติม  ของผู้เข้าร่วมเสนอราคานั้นจะต้อง เคยก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ที่มีความสูงไม่น้อยกว่า  4   ชั้น และถ้าเป็นอาคารประเภทสถาปัตยกรรมไทยนั้นในการก่อสร้างที่ผ่านมาเท่าที่สืบค้นได้ ก็ไม่ปรากฎว่ามีอาคารสูงมากกว่า 4 ชั้นเลย  มีเพียง แค่ 1- 2  ชั้นเท่านั้น
            นี้คือข้อสงสัยในการกำหนด สเปค (SPEC) ที่เขียนใน TOR  มีความไม่โปร่งใส  ฉ้อฉล  ข้อความประเภทนี้มีลักษณะปลายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ดุลยพินิจ พิจารณางานกว้างเกินไป   ซึ่งอาจเขียนวางกรอบไว้สำหรับคนที่คุ้นเคย หรือพวกพ้อง เพื่อแอบแฝงหาประโยชน์ในโครงการร่วมกันหรือไม่
            เรื่องนี้แป็นประเด็นสำคัญมาก  ที่ผู้ประกอบการวงการก่อสร้างควรศึกษาและทำความเข้าใจ ตีความในข้อความ เมื่อไม่เข้าใจสงสัยควรโต้แย้งและหาคำตอบ   นอกจากนั้นต้องให้ข้อมูลหรือเผยแพร่ ในแนวทางปฎิบัติที่คาดว่าจะไม่ยุติธรรมในวงการก่อสร้างร่วมกัน   เพื่อให้การฉ้อฉล ที่จะทำให้วงการก่อสร้างเสียหายไม่ได้รับการปฎิบัติที่เท่าเทียมกัน  ลดน้อยลงไป และเกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการก่อสร้างที่ จริงใจตั้งใจทำงานบนพื้นฐานของความถูกต้อง นอกจากนั้นยังเป็นการยกระดับวงการก่อสร้างไทยให้มีความเจริญมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับการยอมรับจากนานาชาติ อีกด้วย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น