วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สตาร์ทอัพ พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย 4.0


สตาร์ทอัพ พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย 4.0

            หลายประเทศในโลกต่างก็พยามยามพัฒนาตัวเองเพื่อขับเคลื่อนประเทศของตัวเองไปสู่ความเจริญ ความมั่งคั่ง และความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้เป็นความหมายของการที่ประชาชนภายในประเทศมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ขัดสนในการดำรงชีวิต  ประชาชนมีรายได้ดี เพียงพอต่อการนำมาเพิ่มคุณภาพชีวิตของตนเอง สามารถเป็นที่เพิ่งพิงของบุคคลอื่นได้ โดยจะมีการคิดค้น และพัฒนาเทคนิค องค์ความรู้ และผลิตสิ่งใหม่ ออกมาเพื่อหวังจะให้มาช่วยในการสร้างความสุข ความสำเร็จให้กับมนุษย์ได้ ประเทศไทยก็เช่นเดิมกัน ผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารประเทศ ย่อมจะต้องมองหาโอกาส และแสวงหา ช่องทาง  และเดินตามเส้นทางที่พิจารณาแล้วว่า จะสามารถนำพาพัฒนาประเทศ ไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ ของประชาชนในชาติได้   ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันผู้นำรัฐบาล และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังเดินเครื่องอย่างเต็มแรงที่จะพยายามนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ  มาสู่ขึ้นตอนปฏิบัติเพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งในยุคนี้แม่ทัพที่นำขบวนทางด้านเศรษฐกิจ  คือ ดร. สมคิด  จาตุศรีพิทักษ์ ได้กล่าว ได้พูดถึงนโยบายที่ภาครัฐ กำลังเร่งดำเนินการ ขับเคลื่อนประเทศ ไทยให้หลุดพ้นความยากจน  ในงาน สัมนา เรื่อง  สตาร์ทอัพ พลิกโฉม เศรษฐกิจไทย 4.0  อย่างน่าสนใจว่า
            เมื่อหลายปีก่อนผมเคยเรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าเราน่าจะมีการจัดงาน Start Up พลิกโฉมเศรษฐกิจไทยขึ้นสักครั้ง เพราะผมมองว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันนี้เรามี Start Up (ธุรกิจ SME)ของประเทศกระจายไปทั่วทุกจังหวัดซึ่งก็น่าจะถึงเวลาที่เราจะทำการรื้อฟื้น ระบบ Startup ขึ้นมาทำให้คนรุ่นใหม่ทั้งประเทศเกิดการตื่นตัวขึ้นมาว่าถึงเวลาที่พวกเราจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงมาช่วยกันเป็นกำลังในการสร้างแรงขับเคลื่อนให้ประเทศเดินไปข้างหน้า  เมื่อหลายปีที่ผ่านมาผมพยายามที่จะบอกกับสังคมไทยว่า ประเทศเราไม่ได้ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เพียงตัวเดียว  การจะทำให้ประเทศเจริญไปข้างหน้าได้นั้น เราจะต้องเป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยเครื่องยนต์หลายตัว หรือต้องมีผู้ประกอบการจำนวนมาก  เป็นผู้ประกอบการต้องมาจากหลากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีความคล่องตัวมีความสามารถเข้าใจโลกทันโลกน่าจะเป็นแรงผลักให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้เร็ว  ผมมีโอกาสได้เข้าไปทำงานในมหาวิทยาลัยในช่วงหนึ่ง  และก็ได้พยายามมที่จะให้มหาวิทยาลัยเกิดการเปลี่ยนแปลงในความคิด  ไปแนวทางปฏิบัติ 



            สิ่งเหล่านี้สามารถเพิ่มเปลี่ยนหรือกำหนดไว้ในหลักสูตรเปลี่ยนวิธีการในการเรียนการสอนได้  เพื่อสร้างอนาคตใหม่กับสิ่งเหล่านี้ล่วงหน้า และก็ได้ทำความเข้าใจกับผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาให้ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ยอมรับแนวทางใหม่ๆกับการเปลี่ยนแปลงของโลก  โดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท่านก็เข้าใจในเรื่องนี้ดี เพราะว่ากระทรวงท่านเป็นกระทรวงเล็ก แต่บุคคลากรนั้นไม่เล็ก มีบุคลากรในกระทรวงนี้มีค่าระดับมันสมองมหาศาลในกระทรวงวิทยาศาสตร์ มีผู้ที่เป็นดอกเตอร์ 800 กว่าคนที่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมากมาย แต่ไม่มีใครสักคนที่จะหันมาสนใจกระทรวงวิทยาศาสตร์ในช่วงนั้น ไม่มีข่าวเกี่ยวกับกระทรวงวิทยาศาสตร์เลย  นักข่าวก็ไม่สนใจนักการเมืองก็ไม่ค่อยสนใจจนกระทั่งวันหนึ่งผมตัดสินใจไปเยี่ยมท่านที่กระทรวงฯ วันนั้นนักข่าวตามผมไปมากกระทรวงวิทยาศาสตร์เริ่มตื่นตัวตั้งแต่วันนั้นและวันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์เริ่มเป็นที่รู้จักของสังคมมากขึ้นคนรุ่นใหม่รู้จักกระทรวงวิทยาศาสตร์มากขึ้น  และในอนาคตผมก็อยากให้เด็กไทยเดินบนเส้นทางวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้นเช่นกัน
            ซึ่งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและเรื่อง Start Up เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมากทั้งปัจจุบันและในอนาคตโดยเฉพาะประเทศไทยในช่วงนี้หลายคนก็คงได้ยิน และมีผู้พูดถึงกันบ่อยๆในเรื่องของคำว่า Start Up ประเทศไทย 4.0   จริงๆแล้วเป็นคำที่พูดเปรียบเปรยถึงพัฒนาการของการพัฒนาประเทศของไทยจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเราคงจำกันได้ว่า ประเทศไทยยุค1.0 ก็หมายความว่าการที่เราเริ่มพัฒนาประเทศจากเกษตรกรรมมีการส่งออกสินค้าประเภทเกษตรกรรมไปยังต่างประเทศ  สมัยนั้นในตำราเรียนเราจะพูดถึงสินค้าที่ส่งออกของเรานั้นจะเป็นพวก ฝ้าย ยางพาราไม้สักดีบุกต่อมาก็มาก็ก้าวมาสู่ประเทศไทย 2.0  เริ่มเข้าสู่การพัฒนาประเทศด้วยอุตสาหกรรมซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพึ่งพาการนำเข้า สุดท้ายก็เป็นการส่งออกเพื่อนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ ต่อมาก็เข้าสู่ยุค 3.0 เป็นการพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมวิทยาการอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เน้นการผลิตสินค้าด้านอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก  ซึ่งพบว่าในยุคนี้ประเทศไทยมีการพัฒนา ระบบเศรษฐกิจมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีค่า GDPโตเป็น 10 เปอร์เซนต์เป็นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่เร็วมาก ในลักษณะก้าวกระโดดในที่สุดก็เข้าสู่ยุควิกฤตทางการเงิน จนมาถึงปัจจุบันเป็นยุคของการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ปัจจุบันเศรษฐกิจประเทสไทยเริ่มมีการชะลอตัว แนวโน้มเริ่มมีปัญหาในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ  แต่ในช่วงหลังเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น  สัญญาณบวกเริ่มมี  การส่งออกเริ่มฟื้นตัว  และมีแนวโน้มว่าดีกว่าหลายประเทศในกลุ่มเพื่อนบ้านแต่ไม่ใช่ว่าเราเก่งกว่าสาเหตุก็เนื่องจากว่าเรามีสินค้าที่หลากหลาย มีอะไรอย่างที่ไม่ดีแต่ก็มีบางอย่างที่สามารถมาทดแทนกันได้ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกก็กำลังชะลอตัว
            ประเทศจีนก็ลำบากเศรษฐกิจของเขาก็ไม่นิ่งเช่นกัน การที่เราประคองตัวได้ในลักษณะนี้ถือว่าเป็นความสามารถที่ประคองตัวไปได้โดยเฉพาะภาคเอกชนของเจะรามีความสามารถในการส่งออกสูงแต่ก็อย่าประมาทยังวางใจไม่ได้  การลงทุนของเราก็มีสัญญาณบวก ในลักษณะทุนนอกตอบรับ แต่เรื่องนี้ยังไม่มีเงินลงทุนจริง เพียงแต่มีสัญญาณเท่านั้น


            
ที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินแอร์เอเชียได้มาเข้าพบผมแล้วก็ไปพบท่านนายกรัฐมนตรีเขามาคุยว่าเขามีความเชื่อมั่นในประเทศไทยว่าจะเป็นเกตเวย์ (Gateway) เป็นจุดเชื่อมของสายการบินในภูมิภาคอาเชียนที่แท้จริง เขาเชื่อว่าไม่มีอะไรที่จะหยุดการเติบโตของอาเซียนได้อีกแล้ว  ถ้าประเทศไทยเป็นเกตเวย์ (Gateway) แน่นอนเราเป็นประตูเดียวเป็นประตูหน้าด้วย  ประเทศในกลุ่มAECจะมีการเชื่อมโยงเรื่องการท่องเที่ยวกันมากขึ้นเขาบอกว่าประเทศไทยน่าจะเป็นฮับเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวที่ดีที่สุด เขาบอกว่าเขาจะมาตั้งฐานที่เป็นสำนักงานศูนย์กลางการบินของแอร์เอเชียที่ประเทศไทยเป็นลักษณะร่วมลงทุนกับเรามากขึ้นเพื่อเตรียมรองรับการเจริญเติบโตในอนาคต เขามุ่งมั่นที่จะประยุกต์ ลงทุนในเรื่องการบินในภูมิภาคสำหรับการบริการการบินราคาต่ำเพราะเขามองว่าคนอาเซียนส่วนใหญ่แล้วเป็นชนชั้นกลางเป็นชนชั้นที่มีรายได้ไม่มากนักแต่อยากท่องเที่ยวเขาจึงต้องการสร้างความสัมพันธ์การท่องเที่ยวจากหลายหลายเมืองในอาเซียนเพื่อป้อนคนเข้ามาสู่เมืองไทยโดยร่วมมือกับสายการบินของไทยนี้คือเจตนาของผู้บริหารระดับสูงของแอร์เอเชียที่เข้ามาเจรจา  ส่วนHuawei ก็วางแผนมาตั้งออฟฟิศที่เมืองไทย แล้วสำนักงานก็เปิดตัวไปเรียบร้อยแล้วซึ่งจะเห็นว่าทุนจากต่างประเทศกำลังทยอยเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น  ถ้าคนไทยไม่ทำร้ายตัวเราเองก่อน อนาคตข้างหน้าของเราน่าจะดีขึ้นอนาคตมันจะดีขึ้นก็เพราะว่าสัญญาณที่ดีภายนอกมีเข้ามา  นอกจากนั้นก็เป็นการลงทุนจากภาครัฐบาล ซึ่งในเรื่องนี้ผมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็เข้าไปเร่งรัดงานให้มีการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เร่งเดินหน้าด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง ส่วนโครงการดำเนินการของรถไฟแต่ละสายก็ได้เร่งรัดให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นมูลค่าของ GDPก็น่าจะสูงขึ้น การส่งออกก็ยังน่าสนใจ  การท่องเที่ยวของประเทศก็มีมากเป็นประวัติศาสตร์ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าประเทศกำลังจะดีขึ้น  เราไม่ได้บอกว่าเศรษฐกิจดีขึ้นแต่เราบอกว่าสัญญาณมันดีขึ้นแล้ว  ผมเป็นเด็กที่เกิดในย่านเยาวราชสมัยก่อนติดไฟต้องใช้เตาถ่านยังไม่มีเตาแก๊ส  เวลาที่ไฟกำลังจะเริ่มคลุฝุ่นมันจะเริ่มติดที่ถ่าน  เมื่อไฟติดหน้าที่ของเราต้องค่อย ๆ พัด  แล้วมันจะค่อยค่อยติดแล้วก็ลุกเป็นไฟขึ้นมา นั่นมันก็คล้าย ๆ  กับเรื่องการบริหารธุรกิจ  ซึ่งในหลักการของผมเป็นแบบนี้ไม่ได้ใช้ทฤษฎีมาจากต่างประเทศ  แต่เกิดจากประสบการณ์ในการใช้ชีวิตการทำอะไรต้องค่อยเป็นค่อยไปถ้าเราพัดแรงไปขี้ไต้ดับแน่นอน  พัดเบาไปไฟก็ไม่ติดแต่เรื่องที่ควรระวังอย่างมาก ถ้าไฟกำลังจะติด จะมีคนรอบข้างมาช่วยเป่าหรือช่วยพัดแรง ๆ  อย่างนี้ไฟดับแน่  แต่ไม่เป็นไรกำลังใจอย่าเสียก็แล้วกัน  สัญญาณเศรษฐกิจกำลังจะดีขึ้น  ทุกคนก็อยากให้ประเทศมันดีขึ้นอยู่แล้วคนไทยเราก็ต้องช่วยกันโดยผมจะพยายามใช้เวลาที่เหลืออยู่มาวางพื้นฐานให้มันดีขึ้น  ผมเชื่อว่าในการวางพื้นฐานไว้ดีแล้วไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาบริหารประเทศก็น่าจะเดินตามวิธีการนี้  ถ้าเรามาเปรียบเทียบสถิติย้อนหลัง 15 ปีที่ผ่านมาลองมาศึกษาค่าของ GDPผมจำได้ว่าประมาณปี 2545  ถึง 2548   ประมาณ 3 ปี GDPโตประมาณ 6 -7    เปอร์เซ็นต์  ปี 2549   ถึง 2550   GDPขยับลงมาถึง 4 - 5 เปอร์เซ็นต์  หลังจากปี 2550   ขึ้น 2551 เรื่อยมาจนถึง 3 ปีสุดท้ายที่ผ่านมา ค่า GDPมาถึงประมาณ 2 .00  เปอร์เซ็นต์  ถ้าเราดูย้อนหลังค่า GDP 15 ปีย้อนหลังอย่างนี้  ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5  ซึ่งจะมีลักษณะลดลงเรื่อย ๆ เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเพราะการเมืองผันผวนอย่างเดียวแต่เป็นเพราะว่าโครงสร้างเศรษฐกิจของเรานั้นน่าจะมีปัญหาข้อสังเกตข้อนี้ก็เป็นข้อเตือนใจและเข้าใจได้
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ผ่านมา โดยใช้วิธีการจำนำ ก็เป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ไม่ค่อยถูกทาง และก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้อย่างถาวร  เราจึงพยายามที่จะเริ่มต้นแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ถ้าเรามองว่าถ้าการเกษตรมีความลำบากมาก ถ้าจะนำระบบประเทศไทย 4.0 หรือระบบสตาร์ทอัพมาช่วยได้อย่างฉับพลันมันก็คงเป็นคนละเรื่องกัน  ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในประเทศไทยมีทั้งหมด 30 ล้านคน  ถ้าใช้วิธีแก้ไขช่วยเหลือประชากรเหล่านี้โดยการทุ่มงบประมาณลงไปอย่างเดียวคงไม่พอ ขณะเดียวกันก็ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ SME ให้เขาด้วยให้เขาเรียนวิธีการดำเนินการผลิตแบบใหม่ ๆ  ถ้าเราทำได้อย่างต่อเนื่องก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในภาคอุตสาหกรรมเราก็รู้ว่าเราจะปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปไม่ได้ ความสามารถในการแข่งขันของเราเริ่มถดถอยการส่งออกก็เริ่มสู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ โดยเฉพาะประเทศเล็กๆอย่างสิงคโปร์เขามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาตนเองเขาต้องดิ้นรนเขาต้องทำงานหนัก เพราะเขารู้ตัวว่าเป็นประเทศเล็ก ทรัพยากรมีจำกัด ถ้าเขาไม่ทำงานหนัก ไม่แข่งขันอย่างหนักเขาก็จะอยู่ไม่ได้   พวกเขาต้องทำงานหนักกว่าประเทศมาเลเซียทำงานหนักกว่าประเทศไทยเพื่อให้ประเทศของเขายืนอยู่ข้างหน้าในโลกการแข่งขันได้อย่างมีความสง่างาม  ส่วนประเทศไทยเราก็รู้ว่าในอนาคตการแข่งขันเป็นอย่างไรการส่งออกเราก็ต้องปรับตัวเองโดยนำนวัตกรรมมาปรับใช้ แล้วนวัตกรรมมาจากไหน คนไทยส่วนมากยังไม่รู้เลยว่านวัตกรรมมันคืออะไร  ซึ่งการเกิดของนวัตกรรมนั้น ประการแรกทุกภาคส่วนต้องมีส่วนช่วยเหลือกัน ก่อน ประการต่อมาต้องเริ่มต้นจากการทำวิจัย ต้องลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีคิดค้นวิธีการใหม่ๆ   ด้วยการนำวิจัยมาเป็นจุดเริ่มต้น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการลงทุนเพื่ออนาคต แต่สำหรับในประเทศไทยมีบริษัทรวมกันก็หลายหมื่น ไม่มีแม้บรัทเดียวลงทุนเรื่องการวิจัย   
จะมีกี่บริษัทที่ลงทุนเรื่องการยกระดับเทคโนโลยีการผลิตของตัวเอง แต่กลับมองว่าการลงทุนเรื่องนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแล้วมานั่งภาวนาว่าเมื่อไหร่ค่าเงินบาทจะอ่อนลงการส่งออกจะได้ดีขึ้นแนวคิดของผู้ประกอบการไทยยังเป็นแบบนี้จึงไม่มีการพัฒนาใด ๆ เลยนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นได้จะต้องเริ่มที่การมองถึงอนาคตที่เป็นจริง ที่ผ่านการศึกษาวิจัย ผ่านกระบวนการทำงาน ในด้านพัฒนาเทคโนโลยี   การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  จากที่ผ่านมา 10 ปี 20 ปีผู้ประกอบการไทยมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยในการผลิตสินค้าของตนเองมากน้อยแค่ไหน และที่จะสามารถนำมาแข่งขันกับชาวโลกเขาได้  ถ้าเรามองย้อนกลับอีกว่าบริษัทใหญ่ๆของไทยมีกี่บริษัทเราสามารถนับได้ทั้งประเทศมีไม่เกิน 20 บริษัท  ถ้าบริษัทใหญ่มีแค่นี้ประเทศเมืองไทยจะเติบโตได้อย่างไรจะจ้างแรงงานได้อย่างไร  ในขณะเดียวกันภาคการเกษตรของเราก็เริ่มอ่อนแอไปเรื่อยๆผู้ผลิตมีอยู่นิดเดียว ประเทศเรามีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างผู้ประกอบการใหม่  ในอดีตผู้ประกอบการที่เรามีอยู่ก็คือผู้ประกอบการSME
            เมื่อ 15 ปีที่ผ่านมามีพรรคการเมืองภาคหนึ่ง มีแนวคิดในการสร้าง SME ให้เข้มแข็งให้สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้  ทำให้เกิดแนวคิดขึ้นมาที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้  ด้วยพื้นฐานของทักษะความรู้ความสามารถของตัวเองมีความคิดเป็นของตัวเองไม่ว่าจะเป็นการผลิต  การจัดจำหน่าย ซึ่งในช่วงนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะมาช่วยพัฒนาธุรกิจเล็กๆเหล่านั้นได้   แต่มาถึงปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนามาก และมีหลายอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ นำเข้ามาช่วยเป็นตัวสนับสนุน และส่งเสริมธุรกิจเหล่านี้ได้  เรากำลังจะลงทุน SMEทั่วประเทศ  โดยมีงบประมาณแน่นอนที่จะลงทุนไปหมื่นกว่าล้านบาท  ผมเคยถามผู้บริหารกระทรวงไอทีซี หรือกระทรวงดิจิทัลว่า  อีก 5 ปีข้างหน้าจะมีงบลงทุนเท่าไหร่ ก็ได้รับคำตอบว่ามีประมาณเป็นแสนล้านบาท เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราต้องมีเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน  จะสร้างเครื่องยนต์ให้เกิดขึ้น หลาย ๆ ตัวไม่ใช่มีแค่ 20 ตัว  แต่จะให้เกิดขึ้นเป็นร้อยเป็นพันและหลายหลายหมื่นตัวแล้วก็วิ่งขับเคลื่อนประเทศไปพร้อม ๆ กันนี้คือวิธีการสร้าง Start Up ประเทศไทย  นี้คือเป้าหมายที่เราจะต้องสร้างจุดนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ เราจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนในการที่จะเดินไปข้างหน้าให้พร้อม สิ่งสำคัญที่สุดในจุดเริ่มต้น คือแนวคิด เราต้องเปลี่ยนแนวคิด
คำว่า Start Up ของเมืองไทย อย่าให้มันเป็นแค่คำขวัญ  และของเราไม่เหมือนกับประเทศอื่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จากต่างประเทศก็เช่นกัน เราก็มาประยุกต์ให้เหมาะกับเราStart Up ของก็เราไม่ใช่แบบประเทศสิงคโปร์  แท้จริงแล้วเราคือ เรามีองค์ประกอบหลายอย่าง เรามีทั้งภาคการเกษตร   อาหารการท่องเที่ยว มีสารพัดอย่างที่ประเทศอื่นเขาไม่มี   กรอบพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งของประเทศเรามีมากมายมหาศาลถ้าเราสามารถสร้าง Start Up ทางด้านการเกษตร การท่องเที่ยวด้านการโรงแรมการบริการ  โลจิสติกส์ซึ่งทั้งหมดนี้เราต้องสร้างขึ้นมา การที่เราจะเข้ามาในธุรกิจได้ผู้ประกอบการต้องมีความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งจุดเด่นของเรามีมากกว่าประเทศอื่นก็คือความหลากหลายของธุรกิจเรามี อุตสาหกรรมการเกษตร ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายฐานที่แท้จริงของเรา  และพื้นฐานเหล่านี้เราจะนำเทคโนโลยีเข้าไปเสริมถ้าเราพูดถึงคำว่าการทำการเกษตรเมื่อมาถึงจุดนี้แล้วคง ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปนั่งปลูกข้าวด้วยแรงงานเหมือนในอดีต  แต่เราจะนำเทคโนโลยีเข้ามาปฏิวัติ  มาพัฒนาการเกษตร มาสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าการเกษตร  การผลิตพันธุ์พืชใหม่ๆการส่งออกโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย   สามารถส่งขาย และส่งออกไปทั่วโลก  นี้คือเป้าหมายในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงแนวทางการเกษตรยุคใหม่ ลองนึกภาพดูว่าถ้าคนหนุ่มสาวยุคใหม่ของเรามีแนวความคิดมีสมอง เริ่มเข้าใจ สนใจออกไปทำภาคการเกษตร  มองหาช่องทางการตลาดอาหารใหม่ ๆ  นำเทคโนโลยีมาช่วยแปรรูปสินค้าการเกษตร  ติดต่อค้าขายทางสินค้า ทาง E - Commerce   เริ่มจากธุรกิจเล็กๆ แล้วค่อยๆเติบโต เราต้องมองหาจุดเด่นของเรามาพัฒนา มาสร้างมูลค่า  ถามว่าประเทศอื่นมีเหมือนเราไหม  ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซียมีไหม  นี้คือความโดดเด่นที่เรามีมากกว่า  
            โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสนใจว่าน่าจะเข้าไปช่วยผู้ประกอบการที่เป็นธุรกิจเล็กๆให้สามารถเติบโตได้ด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างธุรกิจที่หลากหลายที่จัดจำหน่ายอยู่ในตลาดสวนจตุจักร  ซึ่งเขาทำธุรกิจเล็กๆเริ่มต้นผลิตสินค้าด้วยตัวเองมีแนวคิดมีทักษะมีความสาสารถ รอบรู้ในผลิตภัณฑ์ของตัวเองโดยเฉพาะสินค้าทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ  ควรจะส่งเสริมให้เขามีเงินทุนสามารถพัฒนาสินค้า แล้วส่งออกไปยังต่างประเทศได้  คำว่าStart Up ในความหมายที่เรากำลังพูดถึงคือสิ่งเหล่านี้
            ถ้าเราทำได้อย่างนี้ในอนาคตก็มั่นใจได้ว่าธุรกิจในบ้านเราจะเติบโตได้มาก เพราะเด็กรุ่นใหม่ของเราเก่ง มีความรู้มีทักษะมีแนวความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาปรับปรุงสินค้าของตัวเองอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เขาขาดคือไม่มีใครเข้าไปสนับสนุนให้เติบโต  นี้คือสิ่งที่ประเทศเรามีที่เหนือกว่าประเทศอื่นเราต้องกลับมามอง เพื่อพัฒนาสิ่งที่โดดเด่นของเราให้เติบโตได้มากขึ้น จากธุรกิจSME เล็กๆเหล่านี้พยายามให้เขาเดินได้ ธูรกิจเติบโต จนสามารถแข่งขันได้อย่างถาวร นี้คือความหมาย คำว่า Start Upของไทย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น