วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รอยร้าวบ้าน อาคารแก้ไขได้

บ้าน อาคาร หรือที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่สำคัญของมนุษย์ เพราะเป็นสถานที่อาศัย หลบภัย พักผ่อน และอื่น ๆ ที่ผู้อยู่อาสัยต้องการที่จะให้เป็น แต่เมื่อเกินสิ่งที่บ่งบอกว่าอาจไม่ปลอดภัย ในการใช้ขึ้นมา  เช่น  เกิดพื้นทรุด  พื้นร้าว  ผนังบ้านเกิดรอยร้าว เกิดรอยแตกแยก  เสา คาน มีรอยแยก นั้นย่อมทำให้ผู้อาศัยรู้สึกไม่สบายใจ     
   

            ปัญหาดังกล่าวนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องด่วนของผู้ที่เป็นเจ้าของ และผู้ที่พักอาศัย ถ้าไม่ดำเนินการแก้ไขประการแรกผู้ที่พักอาศัยย่อมเกิดความไม่สบายใจ เนื่องจากว่าอาจเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินถ้าทิ้งไว้นานวัน
            ดังนั้นต้องรีบดำเนินการแก้ไข โดยปรึกษาช่าง หรือผู้มีประสบการณ์ในงานช่างมาดู และพิจารณาว่าจะแก้ไข ซ่อมแซม ด้วยวิธีใด  เกิดความเสียหายตรงไหน บริเวณใดเพิ่มเติม หรือไม่อย่างไร แต่การเรียกช่างมาสำรวจความเสียหานั้นเราต้องอย่าด่วน ตัดสินใจตกลงซ่อมก่อน ที่จะพิจารณาให้รอบคอบ จนแน่ใจก่อน เพราะช่างส่วนมากแล้วอาจจะไว้ใจได้ยาก อาจจะรับปากว่าซ่อมได้ ซ่อมเร็ว ซ่อมดี เพราะต้องการเงินค่าซ่อม แต่เมื่อดำเนินการซ่อมไปแล้ว อาจทำให้เจ้าของ ปวดหัวมากขึ้น ก็ได้นอกจากซ่อมไม่ได้มาตราฐาน งานไม่จบแล้ว อาจจะถูกทิ้งงาน ไป โดยเบิกค่าจ้างไปหมดแล้ว

            และประการสำคัญช่างบางรายอาจเสนอราคาค่าซ่อมแซม ในราคาสูงเกินความเป็นจริง เนื่องจากเราไม่รู้อะไรเลยว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น มากน้องเพียงใด นอกจากจะเสียรู้ช่างที่มซื่อสัตย์ แล้วยังจ่ายเงินมากเกินความเป็นจริงได้ ดังนั้นเราต้องมีความรู้ความเข้าใจในการซ่อมแซม ปรับปรุง แก้ไข ในเรื่องนี้ไว้บ้าง แม่เราจะไม่ใช่ช่างอาชีพก็ตาม เพื่อจะได้รู้เท่าทันช่างนั้นเอง หรือแม้แต่ถ้าเกิดรอยร้าวเพียงเล็กน้อยเราก็อาจจะสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองได้เช่นกัน 



            รอยร้าว  รอยแตก  รอยแยก ที่เกิดขึ้นในอาคาร บ้านพัก ย่อมเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ บางครั้งอาจเกิดเพียงจุดเล็ก ๆ  บ่างครั้งอาจเกิดขึ้นบริเวณกว้าง เมื่อเกิดชึ้นประการแรกต้องเข้าไปพิจารณาว่าเกิดขึ้นบริเวณไหนและพื้นที่นั้นเชื่อมกับโครงสร้างส่วนใดของอาคาร บางครั้งรอยร้าวนั้น อาจเกิดจาก การทรุดตัวของ เสา  ของคาน  ของพื้นดิน หรือเกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่มีอายุการใช้งานมาหลายปี ก็ได้ รอยร้าวเกิด ที่เกิดขึ้นในบ้านพัก อาคารพานิชย์ หรือคอนโดมีเนียม และอื่น สามารถแบ่ง ออกได้ 3  ประเภท
            รอยร้าวที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของวัสดุ
 รอยร้าวประเภทนี้จะเกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของวัสดุที่ใช้มานาน เนื่องจากอาจจะเปลี่ยนไปตามคุณภาพของวัสดุ ที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความร้อน ความเย็น  การสั่นสะเทือน ฝนตก น้ำท่วม และได้รับสารปนเปื้อนอื่น ๆ  จึงทำให้โครงสร้างของวัสดุเหล่านั้นได้รับแล้วเกิดความเสื่อมไม่คงเดิม ของคุณภาพ หรือทำให้อายุการใช้งานนั้นสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น
            รอยร้าวที่เกิดจากโครงสร้างนั้นรับน้ำหนักมากเกินกำลัง
โครงสร้างที่จะเกิดรอยร้าวประเภทนี้ อาจเป็นโครงสร้าง  ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักขนาดของวัตถุที่มีปริมาณน้ำหนักต่ำ หรือบ้าน อาคารที่ออกแบบมามีขนาดเล็ก แต่ต้องมารองรับสัมภาระ หรือบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่ได้ออกแบบไว้  จึงทำให้เกิดรอยร้าว นั้นขึ้นมาได้

รอยร้าวประเภทนี้ เกิดขึ้นจากสาเหตุฐานรากของตัวอาคาร หรือตัวตึกนั้นทรุดตัว อาจเกิดจากวัสดุรองรับฐานรากเสื่อมสภาพ หรือพื้นดินยุบ พื้นดินทรุด ก็ทำให้ตัวอาคาร ตัวตึกเอียง ทำให้เกิดการดึงตัว เสียรูป เอียงตัว แล้วเกิดแตกร้าว
แนวทางการแก้ปัญหา
            เมื่อเกิดความเสียหายจากตัวอาคาร ก่อนอื่นต้องทำการสำรวจความเสียหายก่อน ว่ารอยร้าวนั้นเกิดจากอะไร บริเวณไหน แล้วต้องแจ้ง และปรึกษาช่าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ เพื่อเข้ามาดำเนินการแก้ไข โดยเราต้องได้ทราบว่ามีสาเหตุจากอะไร จึงค่อยวางแผนการซ่อมไปตามลำดับ ซึ่งในขั้นตอนการซ่อม รอยร้าวนั้นมีข้อควรพิจารณา  แบ่งออก  3  กรณี


กรณีที่รอยร้าวเกิดจาก การเสื่อมสภาพของวัสดุ
กรณีนี้สิ่งที่ต้องพิจารณาอันดับแรก คือตรงบริเวณ เสา  คาน และบริเวณพื้นคอนกรีต ขี้นตอนแรกก็ทำการทุบ กระเทาะคอนกรีต ที่ปิดเหล็กตรงคาน  หรือเสาก่อน  โดยเมื่อกระเทาะปูนหรือคอนกรีต ออกจนถึงเนื้อเหล็กก่อน  แล้วค่อยทำการก่ออิฐ แล้วควรก่อตั้งคาน หรือเสาใหม่  แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรกระเทาะปูน  ไม่ควรให้ลึกไปถึงเนื้อคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่ภายใน
            เมื่อ ก่ออิฐหรือเทปูนใหม่ นั้นควรใช้น้ำยาประสานผสมไปด้วย เพื่อให้เนื้อปูนเก่ากับเนื้อปูนใหม่ผสมผสานกันได้ดีมากขึ้น
            ถ้าเป็นการเทปูน ก่อปูนตรงบริเวณร่องคอนกรีต  หรือซอกลึกต้องหยอดปูนเข้าไปในซอกเล็ก ๆ ลึก นั้นให้เต็ม ประการสำคัญคอนใช้คอนกรีตชนิดไม่หดตัวแม้ขณะเวลาแข็งตัว  เพราะถ้าเกิดการหดตัวของคอนกรีตบริเวณรอยร้าวเดิม อาจเกิดรอยร้าวได้อีกครั้งก็ได้  สมมุติว่าถ้าเป็นการซ่อมผนังบ้าน หรือผนังตึก ที่มีรอยร้าวเกิดขึ้นประการแรก ควรแนะนำให้ช่าง ทำการทุบหรือกระเทาะเปิดรอยร้าวนั้นให้มีขนาด และบริเวณที่กว้างขึ้นพอสมควร แล้วใช้ตาข่าย หรือใช้กรงไก่มาวางครอบ รอยร้าวนั้นไว้ก่อน  เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงทำการฉาบปูนปิดบริเวณนั้นให้สนิท การปฎิบัติเช่นนี้ก็เนื่องจาก ถ้าปูนที่ฉาบแห้งตัวลงแล้วเกิดการหดตัว จะทำให้สามารถยึดเกาะเนื้อปูนกันได้ดี และแน่นขึ้น จะไม่ทำให้เกิดรอยร้าวได้อีก

            ปัญหาโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป
การออกแบบโครงสร้างบ้านและอาคาร หรือตัวตึกนั้นปกติที่เราพบเห็นโดยทั่วไป บางครั้งก็มีขนาดเล็ก  บางตึกก็มีขนาดใหญ่ ถ้าเราพูดตามภาษาชาวบ้านทั่ว ๆ ไป คือบ้านหลังเล็กก็มีโครงสร้างขนาดเล็ก  โครงสร้างเบาก็รองรับน้ำหนักได้น้อย ส่วนบ้านหรือตึกที่มีขนาดใหญ่ ก็ต้องมีโครงสร้างอย่างแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักในบริมาณที่มากตามไปด้วย  ก็คล้าย ๆ กับรถยนต์ ถ้าคันเล็กมีแรงม้าต่ำ ก็สามารถบรรทุก สัมภาระได้น้อย แต่ถ้าเป็นรถยนต์คันใหญ่มีกำลังแรงม้าสูง ๆ ก็สามารถบรรทุกสินค้าได้ในบริมาณมากกว่า เช่นเดียวกัน

            เปรียบเทียบกันง่าย ๆ       ถ้าบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่หลังเล็ก ๆ  แต่ผู้ที่อาศัย อยู่กันหลายครอบครัว ประกอบกับ ยังมีตู้เย็น  เครื่องซักผ้า ตู้ เตียง เฟอร์นิเจอร์ และอื่นอีกมากมาย นำเข้ามาเก็บไว้ในบ้าน จนทำให้บ้านนั้นรับน้ำหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ  ก็มีผลกระทบกับตัวบ้าน ประเภท เสา คาน  พื้น ต้องรองรับน้ำหนักที่มากขึ้น เกินกว่าที่ระรับได้  ดังนั้นย่อมมีโอกาส ที่ คาน   เสา  พื้นของบ้าน  จะแยก ร้าวและทรุดตัว  ผนังบ้านอาจเกิดรอยร้าวได้  ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นนี้   จะทำให้ผู้ที่อาศัยอาจเกิดความไม่สบายใจ   บางครั้งอาจตกใจ เช่น  ผนังบ้าน ผนังตึกเกิดรอยร้าว  เสา คาน แตกแยก  เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้เจ้าของต้องรีบทำการแก้ไข ด่วน  โดยต้องรีบปรึกษาช่าง หรือผู้ที่มีความรู้มีประสบการณ์ในงานก่อสร้างโดยตรง  ส่วนการแก้เบื้องต้น ที่ควรรู้ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ หรือผู้ที่จะเข้ามาซ่อมแซมแก้ไข นั้น ต้องทราบ และดำเนินการแก้ไข ให้เป็นไปตามขั้นตอนที่เหมาะสม ดังนี้
            หาสาเหตุของปัญหา
ประการแรกผู้ที่จะเข้ามาซ่อมแซมควรมาศีกษา หาสาเหตุเบื้องต้นก่อนว่า เกิดจากส่วนใด บริเวณที่เกี่ยวของอยู่ตรงไหน แล้วค่อทำการเสริมโครงสร้างเหล็กใหม่  จึงค่อยทำการฉาบปูนปิดรอยร้าวนั้น   ส่วนการเสริมเหล็กตรงโครงสร้างนั้นควรใช้เหล็กรูปพรรณ  หรือใช้แผ่นคารณบอนไฟเบอร์  หรือวัสดุอื่นที่ช่างหรือวิศวกร พิจารณาว่าเหมาะสมใช้ร่วมกันได้ดี  มีคุณภาพที่ใช้มาหนุนเสริมให้โครงสร้างนั้นมีความแข็งแรงมากขึ้น  ซึ่งแต่ละขั้นตอนควรอยู่ในความควบคุมของช่างและวอศวกรที่มีประสบการณือย่างใกล้ชิด
            ติดตามรอยแตกร้าว
เมื่อช่างได้ดำเนินการซ่อมแซม เสริมโครงสร้างนั้นเรียบร้อยแล้ว   ก็ต้องปล่อยทิ้งไว้ประมาณชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน  หลังจากนั้นก็กลับมาสำรวจ ตรวจตรงจุด หรือบริเวณที่เกิดรอยร้าวนั้น ว่ามีรอยร้อย รอยแยก เกิดขึ้น เพิ่มเข้ามาอีกหรือไม่  ถ้ายังมีรอยร้าวเพิ่มขึ้น นั้นก็แสดงว่า การซ่อมแซมโครงร้างเสริมเหล็กนั้น ยังไม่ได้มาตรฐาน ต้องทำการแก้ไขใหม่  อีกครั้ง  แล้วกลับมาตรวจรอยร้าวมาเพิ่ม ขึ้น หรือคงเดิม  ถ้ารอยร้าวนั้นคงเดิม แสดงว่าการแก้ไขตรงจุด  ก็ดำเนินการแก้ไข ซอมแซมบริเวณรอยร้าวได้ทันที



            ขั้นตอนการซ่อมแซมรอยร้าว
เมื่อปรับแก้โครงสร้างเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งเราพิสูจน์ได้จากการ ตรวจรอยร้าวเดิมนั้น ไม่เพิ่มขึ้น  ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการแก้ไข  ซ่อมแซมบริเวณรอยร้าว ขั้นตอนนี้  ช่างก็สามารถนำสารเคมี ที่เราเรียกว่าน้ำยาอุดรอยรั่ว  อุรอยแยก เข้าไปฉีดแทรกตรงบริเวณ รอยแยก  รอยร้าว และรอยแตกนั้นได้ทันที เพื่อให้สารนั้นเข้าไปเชื่อม ประสานรอยนั้น ให้ชิด สนิทติดกับเนื้อคอนกรีตเข้าด้วยกัน  เพื่อให้ลบรอยร้าว รอยแยกนั้น และเสริมให้คอนกรีตแข็งแรงขึ้น เหมือนเดิม
--------------------------------------------------------------------------------------------


วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กำหนด SPEC การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ



             ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ในการประมูลงานของภาครัฐนั้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจะจัดซื้อจัดจ้างนั้น  ต้องกำหนด สเปค (SPEC)  ของสิ่งที่ต้องการในการจำซื้อจัดจ้างก่อน ซึ่งเรียกว่าการเขียน หรือจัดทำ TOR ( Terms of Reference) กันก่อน
            การจัดซื้อจัดจ้างนั้น เป็นทั้งนโยบาย  กำหนดในข้อกฎหมาย   ที่เป็นแนวทาง วิธีปฎิบัติการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ  ที่กำหนดรายละเอียด  ข้อบังคับต่าง ๆ ในการที่หน่วยงานของภาครัฐ  จะทำการจัดซื้อวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ หรือจัดจ้าง ให้หน่วยงานอื่น มาทำงานให้กับภาครัฐ นั้น  เพื่อให้วิธีการจัดซื้อจัดข้างนั้นเป็นไปตามระเบียบและเป็นแนวทางที่เหมาะสม  มีมาตราฐานนั้น จัดได้กำหนดที่จะยึดเป็นแบบเดียวกัน เรียกว่า “  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ..  2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
            ซึ่งในปัจจุบัน หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดซื้อ จัดจ้างนี้ อยู่ในสังกัด ของกรมบัญชีกลาง  ที่มีชื่อว่า “สำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ”

            ซึ่งถ้าภาคธุรกิจใดที่มีความต้องการ หรือสนใจ  จะประมูลงาน  เพื่อจะเสนองานเพื่อจัดซื้อจัดจ้างก็สามารถติดต่อได้โดยตรง  ซึ่งจะมีข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ่งไว้คอยบริการมากมายทั่วประเทศ และนอกจากนั้นยังสามารถเข้ามาติดตามข้อมูลหารายละเอียดได้ที่เว็บไซค์ตลอดเวลา  ซึ่งแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้างนั้นได้กำหนดหรือแบ่งวิธีการจัดซื้อจัดจ้างไว้ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 6  ประเภทด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย
            วิธีตกลงราคา  วิธีสอบราคา   วิธีประกวดราคา  วิธีพิเศษ  วิธีกรณีพิเศษ  และวิธี ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E- Auction)

          โดยแต่ละวิธีก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ไป ตามข้อกำหนด ของวงเงินที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง และก็แบ่งรายละเอียดข้อปลีกย่อยออกไปอีก  3   กรณี
            #  กรณีที่ใช้วงเงิน เป็นตังกำหนด   ซึ่งก็แบ่งออกเป็น  3   วิธี
                          วิธีตกลงราคา เป็นการจัดหาครั้งหนึ่ง ไม่เกิน  100,000 บาท
                       
  วิธีตกลงราคา  วงเงินเกิน  100,000 บาท   แต่ไม่เกิน 2,000,000  บาท
                       
วิธีประกวดราคา  จำนวน วงเงินเกิน 2,000,000  บาท
             #    กรณีที่ใช้วงเงิน    และใช้เงื่อนไขอื่น เป็นตัวกำหนด 1   วิธี
                          วิธีพิเศษ  ใช้วงเงินเกิน  100, 000  บาท  และต้องมีรายละเอียดหรือเหตุผล ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ 2535  และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ตาม ข้อ  23 และ ข้อ 24)
            #   กรณีที่ใช้เงื่อนไข  ไม่จำกัดวงเงิน 
                          วิธีกรณีพิเศษ  เป็นการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ที่ได้รับสิทธิพิเศษ จากหน่วยงานราชการ  รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ   และวิธีนี้ก็แบ่งออกตามเงื่อนไขอีก    2    ประเภท ดังนี้
1)      ประเภทบังคับ   หมายถึง สิทธิพิเศษที่บังคับให้ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานของรัฐ  ต้องสั่งซื้อหรือจัดจ้าง จากหน่วยงานภาครัฐ  รัฐวิสาหกิจ  ที่ได้รับสิทธิพิเศษนั้น เท่านั้น  ยกตัวอย่าง กระทรวงกลาโหม  ต้องทำการจัดซื้อจัดจ้าง รองเท้าหนัง   จากองค์การฟอกหนัง  โดยตรงเท่านั้น จะไปพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานอื่นใด ไม่ได้ เป็นต้น
2)      ประเภทไม่บังคับ  เป็นสิทธิพิเศษ ที่เปิดโอกาสให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานอื่นของภาครัฐ สามารถจะพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้าง นั้น จากหน่วยงานที่ได้รับสิทธิพิเศษนั้นได้ หรือไม่ก็ได้

            ซึ่ง รายละเอียดนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับหน่วยงานภาคเอกชน  ที่สนใจจะเข้าร่วมประมูลงานกับภาครัฐ   และพิจารณาคุณสมบัติของหน่วยงานของตนว่า เหมาะสมเข้าข่ายที่จะเข้าไปหางานกับภาครัฐ นั้นหรือไม่อย่างไร   และมีเงื่อนไข ที่ต้องปรับปรุง ให้มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของหน่วยงานที่เปิดจัดซื้อจัดจ้างอย่างไร

 การกำหนด SPEC จัดซื้อจัดจ้าง
            การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นแนวทางหรือวิธีปฎิบัติของทางราชการที่มีเป้าหมายในเรื่องของการจัดหา จัดซื้อสินค้า  วัสดุ อุปกรณ์ ต่าง ๆ  ตลอดจนการจัดจ้าง เพื่อให้ทำงานการก่อสร้าง การปรับปรุง และอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการของผู้ว่าจ้าง    ซึ่งสิ่งที่มานั้นจะนำมาใช้ ในงานของทางราชการเองโดยตรง  หรือนำมาจัดสรรให้บริการแก่ประชาชน   ชุมชน  หน่วยงานต่าง ๆ  ที่ได้รับการอนุมัติตามนโยบายของภาครัฐ 
            ดังนั้นแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างงานนั้น จึงได้เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นแนวทางในการปฎิบัติ  เพื่อให้ได้เหมาะสม  ถูกต้อง มีคุณสมบัติตรงครบถ้วน  เพื่อให้ทางราชการและการบริการประชาชน นั้นจะได้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นเอง     แนวทางในการจัดซื้อจัดจ้าง  นั้นเรื่องแรก เรียกกันว่า การกำหนดสเปค  (SPEC)  การกำหนดสเปค นั้นเป็นการวางกรอบ หรือคุณสมบัติในเรื่องนั้น ๆ  ขึ้น  เพื่อให้ได้ชิ้นงานตามที่ผู้ใช้ต้องการนั้นเอง
            คำว่า สเปค ย่อมาจาก  คำว่า Specification   หมายถึง   ข้อกำหนด ทางเทคนิคที่จัดทำแบบทาง   เอกสาร    ที่กล่าวถึง  ความต้องการ ของหน่วยงาน  ของเจ้าของงาน หรือของผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการ   เพื่อแจ้งหรือส่งไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  ผู้ที่มีส่วนได้เสีย (stakeholders)   เช่นเรื่องของการก่อสร้าง   งานผลิต  งานจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์    โดยมีเป้าหมาย   เพื่อกำหนด ขอบเขต  ขอบข่ายงาน  มาตรฐานที่ต้องการให้ใช้  ชนิด  ขนาด และรายละเอียดของวัสดุ   เครื่องจักร  เครื่องมือ  ในงานนั้น ๆ


            เมื่อกำหนด สเปคได้แล้วประการต่อมาก็ต้อง เขียน หรือจัดทำ TOR  (Terms Of  Reference)  ซึ่ง TOR  นี้จะ หมายถึง  ข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง  TOR  เป็นเอกสารที่ต้องจัดทำขึ้นเพื่อกำหนด   ขอบเขต  และรายละเอียด  ของผู้ที่ว่าจ้างว่าต้องการให้ผู้รับจ้างทำหรือดำเนินการ  โดยต้องเขียนกำหนดกรอบของงานที่ต้องการให้ชัดเจน   ตลอดจนเวลาเริ่มงาน   เวลาจบงาน    คุณสมบัติของผู้ที่จะมาเสนอราคา ข้อกำหนดและขั้นตอนต่าง ๆ  ที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ดำเนินการ  ตลอดจนค่าปรับ เมื่อการทำงานนั้นไม่เป็นไปตามสัญญา  เพื่อประกาศให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ศึกษา ได้รับทราบ  และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงาน ที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้าง ได้ทราบว่าเข้าข่ายหรือมีความสมารถที่จะเข้าไปรับประมูลงานนั้นหรือไม่ อย่างไร  ที่จะเข้าไปดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามประกาศนั้นหรือไม่
            ส่วนขอบเขตของงาน TOR  หรือการกำหนดคุณสมบัติ คุณลักษณะเฉพาะ ในการจัดวื้อจัดจ้างนั้น  ประการแรกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เขียน หรือผู้จัดทำนั้น  ก่อนอื่นต้องพิจารณาและศึกษารายละเอียด  ระเบียบ คำสั่ง  ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.2535 และแกไขเพิ่มเติม  และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจก่อน  เพราะรายละเอียดต่าง ๆ  ที่เขียนหรือกำหนดขึ้นมานั้น  นอกจากจะให้เป็น ไปตามที่ผู้รับจ้างต้องการแล้ว  ก็ยังมีผลในทางกฎหมายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
            ดังที่ทราบแล้วว่า การเขียน  TOR  เป็นการเขียนสิ่งที่ต้องการของผู้จ้างที่อยากจะได้ จากผู้รับจ้าง  ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ประกอบการที่มีความสนใจในงานของภาครัฐ  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่าน ทำความเข้าใจ ในรายละเอียด  ทุกประโยค  ทุกข้อความ ทุกบรรทัด ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการประมูลงาน  เพราะอาจมีข้อความที่ไม่ชัดเจน  คลุมเครือ  ไม่โปร่งใสซ่อนเล้นอยู่ บางประโยค ก็มีความหมาย ที่จะให้ตีความกว้างมากเกินไป   ซึ่งตรงจุดนี้อาจทำให้เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณา ใช้ดุลยพินิจพิจารณากว้างเกินออกไป  อาจเกิดปัญหา ส่อว่า  ข้อความดังกล่าวอาจเป็นปลายเปิด เปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่ไปในทางไม่โปร่งใส ในการแข่งขันประมูลงานนนั้นได้

            เรื่องนี้ก็มีตัวอย่างจริง จากการเขียนรายละเอียด ของ  TOR ของหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง  ที่มีข้อความอาจจะเปิดช่องให้การประมูลงาน นั้นเข้าข่ายการกีดกั้น การประมูลงาน  โดยได้รับการเปิดเผยในข้อสงสัยจากผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างรายหนึ่งว่า
            เมื่อประมาณปลายปี 2559   มีหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้ประกาศจ้างงานก่อสร้างอาคาร  ประเภทศาลากลางจังหวัด และศูนย์ราชการจังหวัด ให้กับส่วนราชการภายในสังกัด หลายแห่ง   และเมื่อผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างดังกล่าวได้อ่าน และศึกษาข้อความใน
TOR  อย่างละเอียดแล้ว  และเกิดความสงสัยไม่เข้าใจในข้อกำหนด เรื่องคุณสมบัติ ของผู้ที่จะเข้ามารับเหมาว่า อาจจะเข้าข่ายไม่โปร่งใส และจะมีการล็อคสเปค กันหรือไม่
            ตัวอย่างเอกสารนั้นมีข้อความว่า  ประกวดราคา ก่อสร้างศูนย์ราชการจังหวัด  วงเงิน   600  ล้านบาท  ระบุว่า  เป็นอาคารเอกลักษณ์ และมีลักษณะสถาปัตยกรรมไทย  นอกจากนั้นยังกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลไว้อย่างน่าแปลกว่า  "ผู้ยื่นซองประกวดราคา  ต้องมีผลงานด้านก่อสร้างอาคาร   สำนักงาน  หรืออาคารสาธรณะ ขนาดใหญ่ที่เป็นงาน สถาปัตยกรรม และเป็นอาคารสูง ไม่น้อยกว่า 4  ชั้น"
            ในกรณีนี้ ผู้รับเหมาดังกล่าวเกิดความสงสัย แล้วก็ไปสอบถามจากวิศวกร และนักวิชาการก่อสร้างจากหลายสถาบัน  รวมทั้งผู้รับเหมาก่อสร้างหลายราย  ต่างข้อมีข้อพิจารณา ที่เป็นข้อสงสัยร่วมกันว่า
            ประการที่ 1 การเขียน TOR  ลักษณะนี้  มีข้อสงสัยคาดว่า อาจเปิดช่อง  ให้กรรมการจัดซื้อจัดจ้าง  ที่เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจ  พิจารณาตีความว่า ผลงานของผู้ใด เข่าข่ายหรือไม่เข้าข่าย ที่เป็น  “สถาปัตยกรรมไทย  หรือไม่นั้นได้กว้างมาก   เนื่องจากคำนี้ไม่มีคำจำกัดความ ที่ชัดเจนนั้นเอง
            ประการที่ 2  การเขียน ในประโยคดังกล่าวน่า จะเป็นเจตนาจำกัดสิทธิ์การเข้าร่วมประมูล  หรือมีจำนวนน้อยลงหรือไม่  เนื่องจากรูปแบบของอาคารและศุนย์ราชการโดยทั่วไป และในอดีตนั้น  ก็ไม่มีอาคารใดที่มีความซับซ้อนหรือเป็นงานแบบประณีตศิลป์ ประเภทสถาปัตยกรรมไทย เลย
           


ประการที่ 3  การเขียน นั้นยังได้กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติม  ของผู้เข้าร่วมเสนอราคานั้นจะต้อง เคยก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ที่มีความสูงไม่น้อยกว่า  4   ชั้น และถ้าเป็นอาคารประเภทสถาปัตยกรรมไทยนั้นในการก่อสร้างที่ผ่านมาเท่าที่สืบค้นได้ ก็ไม่ปรากฎว่ามีอาคารสูงมากกว่า 4 ชั้นเลย  มีเพียง แค่ 1- 2  ชั้นเท่านั้น
            นี้คือข้อสงสัยในการกำหนด สเปค (SPEC) ที่เขียนใน TOR  มีความไม่โปร่งใส  ฉ้อฉล  ข้อความประเภทนี้มีลักษณะปลายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ดุลยพินิจ พิจารณางานกว้างเกินไป   ซึ่งอาจเขียนวางกรอบไว้สำหรับคนที่คุ้นเคย หรือพวกพ้อง เพื่อแอบแฝงหาประโยชน์ในโครงการร่วมกันหรือไม่
            เรื่องนี้แป็นประเด็นสำคัญมาก  ที่ผู้ประกอบการวงการก่อสร้างควรศึกษาและทำความเข้าใจ ตีความในข้อความ เมื่อไม่เข้าใจสงสัยควรโต้แย้งและหาคำตอบ   นอกจากนั้นต้องให้ข้อมูลหรือเผยแพร่ ในแนวทางปฎิบัติที่คาดว่าจะไม่ยุติธรรมในวงการก่อสร้างร่วมกัน   เพื่อให้การฉ้อฉล ที่จะทำให้วงการก่อสร้างเสียหายไม่ได้รับการปฎิบัติที่เท่าเทียมกัน  ลดน้อยลงไป และเกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการก่อสร้างที่ จริงใจตั้งใจทำงานบนพื้นฐานของความถูกต้อง นอกจากนั้นยังเป็นการยกระดับวงการก่อสร้างไทยให้มีความเจริญมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับการยอมรับจากนานาชาติ อีกด้วย








วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

TABLE FORM ตัวช่วยก่อสร้างอาคารสูง


TABLE FORM ตัวช่วยก่อสร้างอาคารสูง  
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศไทยได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น เช่น ประเทศดูไบ  อินเดีย จีน รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศพม่า ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม ซึ่ง เรียกได้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพและความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมก่อสร้างแบบครบวงจรในอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้น ด้านการปลูกอาคารสูง เช่น คอนโด โรงแรม  เป็นหลัก
การสร้างอาคารสูงจะมีการก่อสร้างที่รวดเร็วและแข็งแรง มั่งคง มากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาระบบ Post tension หลายคนสงสัยว่า Post tension คืออะไร Post tension คือ การก่อสร้างแบบใช้ คอนกรีตอัดแรงกำลังสูง ซึ่งพื้น Post Tension โดยทั่วไปคือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มากๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารัดหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง ที่จะมีการดึงเหล็กเส้นที่อยู่ในคอนกรีตภายหลังเทคอนกรีตแล้วเสร็จ เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้างของ พื้นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ Post Tension สะดวกกว่าระบบมีคานแบบเดิม  และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ มากขึ้น
                เนื่องจากพื้น Post-Tension เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ Galvanized เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกัน ดังนี้
1) Bonded System เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน ประกอบด้วย Multi Strand ท่อ 1 ท่อร้อยด้วยลวด 2, 3, 4 หรือ 5 เส้น ท่อ เป็นท่อ Galvanized Duct Anchorage 1 set / ลวด 2, 3, 4 หรือ 5 เส้น ต้องมีการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC Strand กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า
สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่


                2) Un Bonded System เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว Anchorage ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น ประกอบด้วย Mono Strand ท่อ 1 ท่อ ร้อยด้วยลวด 1 เส้น ท่อ เป็นท่อ PE. Anchorage 1 set / ลวด 1 เส้น ลวดเคลือบด้วยจารบี ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้งานในอนาคต ระบบนี้มักใช้กับอาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน
และเนื่องจากพื้นระบบ Post เป็นระบบพื้นที่ไร้คาน จึงง่ายต่อการเข้าแบบจึงมีการออกแบบ Form work ท้องพื้นที่สะดวก รวดเร็ว และสามารถใช้งานได้หลายครั้ง เรียกว่า Table Form ซึ่งทาง บริษัท ไทย คอนส์ แอนด์ บิลดิ้ง  เมนูแฟ็คเจอริ่ง จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนา Table Form ขึ้นมาใหม่ และแบ่งรูปแบบของ Table Form ให้เหมาะสมกับการรับน้ำหนักได้ตรงตามมาตรฐาน และปลอดภัย