งบประมาณปี 60 เค้กก้อนใหญ่
ก่อสร้างไทย
เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายให้ทันในปีงบประมาณพุทธศักราช
2560 ที่จะนำไปใช้บริหารประเทศในวันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560 ซึ่งเป็นรอบปีของงบประมาณใหม่ ของปี
2560 นั้นทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) โดยนายพรเพชร
วิชิตชลชัย ประธานสภาตินิติบัญญัติแห่งชาติ
ได้นำเรื่องงบประมาณเข้าสู่การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 หลังจากที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) มาแล้ว เป็นวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีพุทธศักราช
2560 ในวงเงิน 2,733,000 ล้านบาท นั้น และก่อนหน้านี้ก็มี
นายอภิศักดิ์ ตันจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้พิจารณาปรับลดวงเงินมาอยู่ที่ 17,930.212.800 บาท โดยให้เหตุผลว่าวงเงินจำนวนดังกล่าวน่าจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปีที่รัฐบาลได้วางหลักไว้อีกทั้งยังให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
12 นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ แผนแม่บทระดับชาติ และสอดรับกับแนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งได้คำนึงถึงการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2559
ที่ผ่านมา ร่วมพิจารณา นอกจากนั้นยังได้นำปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องมาประกอบพิจารณาในการกำหนดงบประมาณ
ครั้งนี้ด้วย
เราจะเห็นว่าในรอบปี
2559 ที่ผ่านมามีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.0 ถึง 3.5 ในลักษณะที่ปรับตัวดีขึ้น
อีกทั้งสืบเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในรอบปี 2558 อีกทั้งมีปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญในการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐในเรื่อง
Mega Project ในโครงการก่อสร้างสิ่งจำเป็นพื้นฐานของประเทศ
ในระดับต่าง ๆ ที่กลายเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในระดับสูง
และการขับเคลื่อนของมาตรฐานเศรษฐกิจของภาครัฐที่ได้ผลในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ
พ. ศ. 2559
การขยายตัวด้านเศรษฐกิจของไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ก็มีปัจจัยร่วมหลายอย่าง
เช่น รายได้จากการท่องเที่ยว ราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่
และแนวโน้มการเริ่มปรับตัวดีขึ้นของภาคการผลิต
ภาคเกษตรกรรม ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
อย่างไรก็ตามการขยายด้านเศรษฐกิจโดยภาพรวมยังมีข้อจำกัด และมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ
การลดลงของราคาสินค้าในตลาดโลก ค่าเงินบาทที่ยังคงมีความเสี่ยงมีความผันผวนและแข็งค่า อาการปรับตัวของดอกเบี้ยตามนโยบายของสหรัฐมีความล่าช้า
รวมทั้งสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมาอย่างต่อเนื่อง แต่โดยรวมแล้วเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี
โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ช่วงร้อยละ 0.1 ถึง 0.6
ในปีงบประมาณ พุทธศักราช 2559 หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณสูงสุด 10 หน่วยงาน
ในขณะที่วงการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มแนวโน้มสูงมากขึ้น
ร้อยละ 3.4
ของผลิตภัณฑ์รวมทั้งหมดในประเทศ
ในปีพุทธศักราช
2560 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.7 ถึง 4.2 เป็นผลมาจากการปรับตัวดีอย่างต่อเนื่องจากปี 2559 โดยมีปัจจัยที่เข้ามาสนับสนุน
จากการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจโลกจึงทำให้ภาคการส่งออกของไทยเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง
และขยายตัวอีกครั้ง ขณะเดียวกันการสนับสนุน
ให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศก็ดีขึ้น รวมกับแนวโน้มของความคืบหน้าของโครงการก่อสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การลงทุนของภาคเอกชนขยายตัว
ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ส่วนภาคการผลิต การเกษตรในปี 2560 ก็มีแนวโน้มขยายตัว ซึ่งจะเป็นปัจจัยเร่ง สนับสนุนขยายตัวในเรื่องการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของประชาชนมากขึ้น
ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ในอนาคต
ด้วยปัจจัยที่เกื้อหนุนจาก ปี 2559 น่าจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี
2560 ให้ขยายตัวมากขึ้น
และคาดว่า ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงประมาณ 1.7 ถึง 2.2
ในขณะที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มปรับตัวลดลงอย่างช้า ๆ แนวโน้มการฟื้นตัวของการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศได้มากขึ้น
และการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ในระยะที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้ภาครัฐนำมาเป็นเหตุผลในการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีพุทธศักราช
2560
หลังจากนั้นมาประมาณต้นเดือนกันยายน 2559 ที่ผ่านมาเรื่องงบประมาณ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560
ก็เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของที่ประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ. ศ. 2560 นั้นในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบในระหว่างการประชุมพิจารณานั้นก็ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและในระหว่างนั้นได้มีสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็น
2 ท่าน ประกอบด้วยนายสมชาย แสวงการ
และนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ที่ประชุมพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 รวม 2 ชั่วโมง 30 นาที หลังจากนั้นก็ได้เปิดให้สมาชิกลงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในร่างงบประมาณ โดยให้ออกเสียงอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าการออกเสียงในที่ประชุมเสียงเป็นเอกฉันท์เห็นความชอบในหลักการ
ในร่างงบประมาณประจำปีงบประมาณรายจ่ายปี พุทธศักราช 2560
“สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) เห็นชอบ 183 คะแนน งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง และเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีเสียงคัดค้านแต่อย่างใด”
เมื่อผลลงคะแนนตามมติเป็นเอกฉันท์
ใน งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560
ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติบัญญัติเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้เป็นต้นไป นายกรัฐมนตรีก็จะนำร่างงบประมาณรายจ่ายนี้เข้าสู่กระบวนการทูลเกล้าเพื่อให้ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
ต่อไป
โดยในเนื้อหาสาระของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพุทธศักราช
2550 ฉบับนี้ได้ตั้งวงเงินงบประมาณไว้จำนวน 2,733,000.000 บาท จะสังเกตได้ว่ามีงบประมาณเพิ่มขึ้นจาก
งบประมาณรายจ่ายปี 2559
ถึง 13, 000
ล้านบาท
ส่วนงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ
พ. ศ. 2560 นี้มีกระทรวงที่ได้รับงบรายจ่ายสูงสุด ซึ่งเรียงลำดับจาก
จากมากไปหาน้อย มีทั้งหมด 5 กระทรวง ด้วยกัน
เช่น กระทรวงศึกษาธิการได้รับเงินจำนวน 493,051,854,00 บาท ต่อมาก็เป็นกระทรวงกลาโหมได้รับเงินจำนวน
210,777,461,400 บาท
กระทรวงสาธารณสุข จำนวนเงิน 126,196,350,000 บาท
กระทรวงมหาดไทยจำนวน 73,624, 831,600 บาท แล้วสุดท้ายเป็นกระทรวงคมนาคมจำนวน
63,538,688,500 บาท
จะเห็นได้ว่าในส่วนของกระทรวงมหาดไทยมี ยังจังหวัดที่ได้รับงบประมาณมากที่สุดคือจังหวัดนครราชสีมาได้งบประมาณจำนวน
424 ล้านบาท ส่วนจังหวัดที่ได้อันดับรองมาคือ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 396
ล้านบาท ส่วนจังหวัดที่ได้รับงบประมาณในปีนี้
น้อยที่สุด คือจังหวัดระนอง ได้รับเพียง 162 ล้านบาท
นอกจากนั้น ยังมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ 2
แห่ง ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในครั้งนี้ด้วยคือ
เขตการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษพัทยา ได้รับไป 1,589 ล้านบาท ส่วนกรุงเทพมหานคร รับไป 19,974 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้อาจจะเป็นปัจจัยในเรื่องของพื้นที่และจำนวนความหนาแน่นของประชากร
มาร่วมพิจารณาด้วย นั้นเอง