วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

อุโมงค์แก้ปัญหาน้ำท่วม

น้ำมีประโยชน์มากมายมหาศาล แต่ถ้ามองด้านตรงกันข้ามก็สามารถกลับกลายเป็นโทษอนันต์  ถึงขนาดทำลายทรัพย์สิน ทำลายชีวิตของสัตว์น้อยใหญ่ได้แค่วินาที แต่เราก็ต้องอยู่กับมันและพยายามปรับมันให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด  เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมาทางรัฐบาลของประเทศมาเลเชีย มีแนวคิดสร้างอุโมงค์มาแก้ปัญหาน้ำท่วม หลายคนก็คงทราบว่าประเทศมาเลเชีย พื้นที่เกือบร้อยตารางเมตรอยู่ท่วมกลางทะเล เมื่อน้ำขึ้น น้ำลง เกิดพายุ ย่อมีปัญหาตลอดเวลา ปัญหาเรื่องน้ำจึงเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศแบบนี้ แต่มนุษย์ก็ต้องพยายามหาวิธีไม่ให้น้ำมาสร้างปัญหา

  มาเลเชียจึงตัดสิ้นใจสร้างอุโมงค์ใต้ดินโดยรัฐบาลมาเลเชียได้ทำการว่าจ้างบริษัทเอกชนจากประเทศออสเตรีย มาทำการสำรวจเพื่อขุดเจาะ โดยเบื้องต้นกำหนดว่าจะเจาะอุโมงค์ขนาดใหญ่นี้เชื่อมระหว่างเมืองหลวง คือเมืองกัวลาลัมเปอร์ ไปเชื่อมถึงใต้ดินของรัฐสะรังงอ แล้วโยงไปถึงรัฐปะหัง ซึ่งอุโมงค์ดังกล่าวที่เชื่อมกันระหว่างเมืองนี้ มีความยาวประมาณ 44.6  กิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.2  เมตร  จากการสำรวจทางธรณีวิทยา ก่อนทำการขุดเจาะนั้นพบว่าใต้พื้นดินส่วนใหญ่จะเป็นหินแกรนิตซึ่งมีความแข็งและทนทานมา ทำให้ยากแก่การขุดเจาะ ทางทีมานจึงนำเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่ทำงานด้วยระบบโฮดรอลิค ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน เพื่อให้การขุดเจาะให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและเร็วที่สุด เพราะเรื่องนี้ต้องให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลก็ทุ่มเงินงบประมาณในโครงการนี้อย่างเต็มที่ 

เพื่อเร่งอุโมงค์นี้ให้ใช้งานได้เร็วมากที่สุดเท่าที่ทำได้ จะเห็นได้จากการยอมจ่ายค่าจ้างแรงงานให้กับคนงานและทีมงานก่อสร้างมากขึ้น เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้การขุดเจาะอุโมงค์ ครั้งนี้สำเร็จโดยเร็ว





ซึ่งทางรัฐบาลมาเลเชียมีความคาดหวังว่าถ้าการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินแห่งนี้สำเร็จ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหา น้ำท่วมเมืองได้ในระดับที่น่าพอใจ เพราะในแต่ละปีมีมีน้ำท่วมจะสร้างความเสียหายให้แก่คนและทรัพย์สินอย่างมหาศาล หวังว่าถ้าอุโมงค์เสร็จเมื่อมีน้ำเข้ามามาก ก็จะทำการดูดน้ำลงไปยังอุโมงค์ใต้ดิน ขณะเดียวกันก็มีระบบดูดน้ำออกไปสู่ทะเลได้ทันเหตุการณ์ จะทำให้แก้ปัญหาความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมได้ในระยะยาว อย่างถาวร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น