วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

Mega Project

Mega Project 



จากนโยบายโครงการเมกะโปรเจคของรัฐบาลที่มอบหมายความรับผิดชอบให้กระทรวงคมนาคมเข้ามาดูแลและโครงการนี้ทางกระทรวงคมนาคมก็ได้อนุมัติโครงการและเงินลงทุนให้ดำเนินการไปให้หน่วยงานต่างๆ ไปดำเนินการขับเคลื่อนไปแล้วนั้น ประชาชนและสังคม กำลังขับตามองว่าโครงการได้มีอะไรเคลื่อนไหวไปอย่างไรบ้าง และทางนิตยสารช่าง Contractors’ time ได้ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวความคืบหน้าของโครงการเมกะโปรเจคอย่างไรบ้าง จนได้รับข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงของโครงการต่างๆ ได้กล่าวถึงว่า โครงการต่างๆ ในความรับผิดชอบนั้นเป็นอย่างไรบ้าง

โครงการการรถไฟแห่งประเทศไทยมีโครงการอะไรและแต่ละโครงการมีความคืบหน้าไปอย่างไรบ้าง
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยมี 3 โครงการใหญ่ๆ เป็นการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ระยะที่ 1 ต่อมาก็เป็นรถไฟสายใหม่ เป็นสายสีแดง ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง ทางกระทรวงคมนาคมกำลังดูแลอยู่
ส่วนเส้นทางคู่มีด้วยกัน 6 เส้นทาง ส่วนระยะที่ 2 มีเพิ่มขึ้นมาอีก 1 โครงการคือ เป็นสายหัวหินถึงประจวบคีรีขันธ์ เป็นระยะทาง 90 กิโลเมตร ซึ่งทั้ง 7 โครงการได้ลงนามไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา และ 2 โครงการที่ลงนามแล้วคือ แก่งคอย คลองเก้า และจิระขอบแก่น ซึ่งได้ลงนามไปเรียบร้อยแล้ว และอีก 2 โครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วคือ เส้นทางเป็น ลาดกระบั้ง จีระเส้นทางเส้นนี้ที่ผ่านปากช่อง ซึ่งเส้นนี้ถ้าเสร็จเราก็ไม่ต้องขึ้นภูเขาตรงปากช่องแล้ว เพราะเราจะทำการเจาะอุโมงค์เส้นนี้ก็เตรียมการขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีกเส้นหนึ่งก็๕อ ประจวบคีรีขันธ์ถึงจังหวัดชุมพร ส่วนอีก 4 เส้นผมได้รายงานไปเข้ากระทรวงคมนาคมแล้ว แต่ว่ายังรอและคาดว่าภายในปีนี้ คงจะทันการอนุมัติและเห็นขอบจากคณะรัฐมนตรีทั้งหมด หลังจากนั้นก็จะดำเนินการหาผู้รับเหมาได้ประมาณต้นปี 2560
ส่วนสายสุท้ายก็จะเป็นสายหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ มีทั้งหมด 90 กิโลเมตร ซึ่งเส้นที่พึ่งทำการสำรวจความเหมาะสมก็คิดว่า น่าจะดำเนินการในขั้นต่อไปได้ โดยไม่มีปัญหาอะไร
เพราะฉะนั้น ประมาณ 3 – 4 ปีข้างหน้านี้ ก็จะมีทางรถไฟเส้นคู่ออกจากกรุงเทพมหานครไปทางภาคใต้ถึงชุมพร ส่วนสายเหนือจะถึงอำเภอปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ สายอีสานจากรุงเทพ จะยาวถึงขอนแก่นเลย และจากนั้นก็จะต่อเส้นจากอำเภอแก่งคอยไปถึงฉะเชิงเทรา แล้วก็จะไปเชื่อมเส้นทางคู่ที่แหลมฉบัง จะทำให้ทางรถไฟทางคู่จากจังหวัดขอนแก่นถึงแหลมฉบัง เป็นรูปร่างภายใน 3 ปี ซึ่งถ้าเสร็จแล้วจะทำให้การขนส่งสินค้าไม่ต้องผ่านมากรุงเทพมหานครอีกต่อไป เดิมสินค้าที่มาจากภาคอีสานต้องขนส่งมาทางกรุงเทพแล้วค่อยไปที่แหลมฉบัง นอกจากนั้น เส้นนี้ก็ยังเป็นสายเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว และกัมพูชา มาตามเส้นอีสาน แล้วเข้าสู่แหลมฉบังได้


โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศลาวซึ่งเขาไม่มีทางออกทะเลเดิม จะขนส่งสินค้าผ่านไทยโดยทางรถยนต์ เมื่อเส้นรถไฟทางคู่เปิดใช้ก็สามารถรองรับการขนส่งสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านได้มากและสะดวกขึ้น นี่คือ ความคืบหน้าของการก่อสร้างรถไฟทางคู่
ส่วนเส้นทางรถไฟสายใหม่ เขียนโครงการเสร็จแล้วเช่นกัน ก็กำลังรอการนำเสนอเพื่อขออนุมัติ คือเส้นทางบ้านไผ่ มุกดาหาร นครพนม อีกเส้นหนึ่งคือ เส้นเด่นชัย ทั้งสองเส้นทางนี้ ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

 ปี 2560 ก็คงจะได้ยื่นเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นขอบได้
ส่วนรถไฟสายเส้นสีแดง อาจจะต้องรอไปอีก 4 ปี ซึ่งเป็นโครงการของการรถไฟ สายขนส่งมวลชนเป็นรูปแบบ แบบรถของ MRT แนวการขนส่งมวลชนประมาณระยะทาง 100 กิโลเมตร สายเหนือตามแผนก็จะวางเส้นทางวิ่งไปถึงแค่รังสติก่อน ส่วนสายใต้ก็ไปถึงตลิ่งชันก่อน และจะมีการขยายเส้นทางรถไฟออกไปเรียกว่า สายสีแดงเข้ม ซึ่งอีก 4 ปีคงจะเห็นเป็นรูปร่างและโครงการอื่นๆ ก็จำเสนอขออนุมัติเป็นข่วงๆ ซึ่งส่วนต่อขยายของรถไฟสายต่างๆ ก็จะตามมาเร็วๆ นี้ เราจะเสนอเส้นทางเป็นช่วงถึงธรรมศาสตร์ ศาลายา ถึงบางซื่อ หัวหมาก เมื่อเป็นอย่างนี้จะทำให้สายสีแดงมีโอกาสทะลุไปถึงฉะเชิงเทรา ส่วนสายใต้ก็จะทะลุไปถึงนครปฐม และสายเหนือก็อาจไปถึงลพบุรีได้ สายอีสานถึงแก่งคอย ซึ่งสายต่างๆ เหล่านี้จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้เลยตามที่รัฐมนตรีคมนาคมท่านได้นำเสนอและเห็นขอบในแนวคิดนี้

แผนโครงการในอนาคตของการรถไฟมีอะไรบ้าง
แผนในอนาคตคือรถไฟเส้นทางคู่ อย่างต่อเนื่องเลยจากขอนแก่นไปหนองคาย ส่วนจากปากน้ำโพก็จะขึ้นไปถึงพิษณุโลกเด่นชัย สายใต้ก็มีแผนไปถึงปะดังเบซาเลย แต่ช่วงแรกเป็นชุมพร ไปสุราษฎร์ธานีก่อน จากสุราษฎร์ธานีก็ไปอำเภอทุ่งสน จากทุ่งสนก็ลงไปปะดังเบซา
ส่วนสายอีสานจะลากไปถึงอุบล และเราก็จะไล่สร้างเส้นที่มีความพร้อมและเส้นที่มีศักยภาพไล่เป็นลำดับ กินไปก็ประมาณการณ์ว่า มี พ.ศ.2565 และ 2566 เส้นทางรถไฟสายคู่ น่าจะเต็มเส้นทุกเส้นทาง ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว ประมาณ 60% ซึ่งอีกประมาณ 6 ปีจะมองเห็นภาพชัดเจน ช่วงแรกประมาณปี 2563 จะเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว คือ 1,000 กิโลเมตร แรก ถ้าได้ 25% ก็จะเหมือนกับประกาศที่พัฒนาแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ จะพลิกโฉมให้สังคมได้เห็น คือ ถ้าเราหมุนประเทศได้เร็ว ส่วนที่ยังเหลือก็จะง่ายขึ้น
ทางด้านการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ในการดำเนินการ เช่นกัน
นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการกลยุทธ์และแผนการรถไฟฟ้าขนส่งมลชนแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนได้รับผิดชอบขนส่งมลชนที่จะรับช่วงต่อจากการรถไฟ ซึ่งเรามีหน้าที่ขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร ทาง รฟม. จะรับผิดชอบ 6 เส้นทาง จากแผนงานทั้งหมด 10 เส้นทาง เรารับผิดขอบการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานคร 
         ซึ่งการรับผิดหลักๆ นั้นก็จะแบ่งออกเป็นลักษณะเส้นทางเป็น 3 – 4 ลักษณะ ซึ่งโครงการของ รฟม. เป็นโครงการที่เป็นเมกะโปรเจค ที่มีงบการลงทุนมาก ซึ่งแต่ละโครงการต้องใช้งบลงทุนเป็น 10,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งแต่ละโครงการล้วนแต่เป็นเมกะโปรเจคทั้งสิ้น ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินก็เปิดให้บริการเมื่อปี 2547 ปัจจุบันก็มีการต่อขยายและกำลังก่อสร้างอยู่ประมาณ 3 – 4 โครงการ ตั้งแต่โครงการสายสีม่วง ซึ่งได้เปิดการเดินรถในวันที่ 6 สิงหาคม 2559 ส่วนสายที่กำลังเร่งก่อสร้างคือสายสีน้ำเงิน โดยแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นสายจากหัวลำโพงบางแค เป็นสายรถไฟฟ้าใต้ดินบางส่วนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นสายแรกของประเทศที่ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนอีกเส้นก็คือสายบางซื่อ ไปท่าพระ ซึ่งเป็นเส้นต่อขยายเส้นสีน้ำเงินหัวลำโพง ไปบางแคบริเวณท่าพระ  สถานีท่าพระเป็นสถานีใหญ่ที่จะให้บริการรถเส้นสายสีน้ำเงิน 
       ส่วนสายต่อมาที่กำลังก่อสร้างเช่นกันก็เป็นสายสีเขียว-เหลือง เส้นที่จะต่อขยายเส้นทาง BTS จากหมอชิตไปตามถนนพหลโยธิน ไปสะพานใหม่แล้วเลี้ยวเข้าลำลูกกา แล้วไปสิ้นสุดที่คูคต ซึ่งก็จะมีตัวต่อเส้นสีส้มอยู่ที่คูคต ส่วนอีกเส้นก็เส้นสำโรงต่อไปถึงสมุทรปราการ ซึ่งก็กำลังก่อสร้างอยู่เช่นกัน ก็นับว่ามีการก่อสร้างค่อนข้างจะหลายโครงการตอนนี้ก็ไปถึง 80 – 90% แล้ว ในงานของงานโยธา
ซึ่ง รฟม. เองเป็นการก่อสร้าง สร้างเส้นทางต่อเชื่อมกับ BTS.  ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมนั้นมีนโยบายว่า อยากให้มีการเดินรถอย่างต่อเนื่องในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพได้รับความสะดวกในการเดินทาง




“นโยบายของกระทรวงคมนาคม ต้องการให้เส้นทางการเดินรถของ รฟม. เชื่อมต่อกับเส้นทางการเดินรถของ BTS. เพื่อความสะดวกในการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”

ซึ่งไม่ต้องการให้การเดินทางต้องล่าช้า ติดขัด มีปัญหาโดยไม่ต้องลง และต่อรถใหม่หลายเที่ยว ต้องจัดการเดินรถให้ต่อเนื่อง จะทำให้ความสะดวกในการเดินทาง จะมีมากขึ้น  ส่วนอีกโครงการหนึ่งก็คือ การขยายเส้นทางเพื่อรองรับ Growth Engine รองรับการเจริญเติบโตของเมืองและด้านเศรษฐกิจในกรุงเทพมหานคร ปริมณทล และประเทศซี่งก็อยู่ในแผนทีก่ำลังจะนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
     ซึ่ง 3 โครงการที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นโครงการที่ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว คือ โครงการสายสีส้ม ทางตะวันออก สายสีชมพู แคราย มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว สำโรง และก็จะดำเนินการขายเอกสารเพื่อหาผู้จะเข้ามารับจ้าง รับช่วงประมูลโครงการไปดำเนินการ
ส่วนลักษณะโครงการนั้นจะมีรายละเอียดของโครงการอยากนำเสนอว่า สายสีส้มจะเป็นลักษณะการดำเนินการคล้ายๆ สีน้ำเงิน หรือสายสีม่วง ภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนการโยธาเอง แต่จะคัดเลือกผู้รับข้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างทางวิ่ง ก่อสร้างสถานีก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ส่วนการจัดการเดินรถก็จะให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานในการเดินรถ
ส่วนสายสีชมพูกับสายสีเหลือง เราได้เปิดประกาศประชาสัมพันธ์ให้ทราบแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะการลงทุนเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนกับ รฟม. ซึ่งเป็นโครงการแรกที่เปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนเป็นลักษณะคล้ายๆ กับรถไฟฟ้า เส้นทางการเดินรถก็จะให้รับสัมปทานไป 30 ปี เป็นโครงการค่อนข้างจะท้าทายพอสมควร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขายเอกสาร

โครงการของ รฟม. ที่คาดว่าจะอนุมัติภายในปี 2559
ปัจจุบันกำลังนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ คือ สายสีม่วง ซึ่งเป็นส่วนต่อขยาย ปัจจุบันเป็นส่วนต่อขยายจากคลองบางไผ่ไปถึงเตาปูน ซึ่งเตาปูนก็จะเป็นศูนย์ สถานีที่สำคัญขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเป็นจุดตัดหรือเชื่อมกันระหว่างสายสีม่วงกับสายสีน้ำเงิน และเตาปูนยังสามารถต่อขยายไปทางส่วนเหนือของกรุงเทพมหานคร ลงมาทางด้านใต้ ซึ่งจะผ่านใจกลางเมืองตรงพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ จึงจำเป็นต้องนำรถไฟฟ้าเข้ามา ซึ่งเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย นอกจากนั้น เส้นนี้ยังต่อขยายเส้นทางไปทางฝั่งธนบุรีได้อีก ทั้งหมดนี้ก็อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติ

ปี พ.ศ. 2560 รฟม. มีโครงการอะไร
ส่วนโครงการที่จะดำเนินการขออนุมัติในปี 2560 ซึ่งได้เข้าที่ประชุมแผนงานของ รฟม. ก็มีเส้นทางสายสีเขียว ทั้ง 2 ส่วนที่จะต่อขยายเพิ่มเติมจากโครงการที่กำลังก่อสร้างในปัจจุบัน ยกตัวอย่างสายเหนือที่กำลังก่อสร้างถึงคูคต ก็ต้องการต่อขยายไปถึงลำลูกกา ถึงคลองห้าคลองหก
แล้วก็สายสีส้มซึ่งปัจจุบันได้ประกาศคัดเลือกผู้รับเหมาไปแล้ว ซึ่งเป็นเส้นทางตะวันออก เราก็จะขออนุมัติดำเนินการขยายออกมาทางตะวันตก ส่วนตะวันตกก็คือศูนย์วัฒนธรรมไปถึงเด่นชัยเพื่อเชื่อมกับรถไฟสายสีแดงของทางการรถไฟ
และโครงการสุดท้ายในปี 2560 ก็เป็นสายสีน้ำเงินที่จะต่อจากบางแคสาย 2 ออกไปถึงพุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งก็จะไปบริการประชาชนของกรุงเทพมหานครย่านฝั่งตะวันตก

การท่าเรือแห่งประเทศไทยมีโครงการเมกะ โปรเจคอะไร และดำเนินการไปถึงไหน
นาย สมชาย เหมทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและบริหารสินทรัพย์ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงโครงการของการท่าเรือได้อย่างน่าสนใจว่า
การท่าเรือแห่งประเทศไทย โครงการที่เด่นก็คือ ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการแรกของเราที่อยากนำเสนอคือ โครงการพัฒนาศูนย์ขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการนี้ได้คัดเลือกผู้มารับเหมา ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ผลงานคืบหน้า ปัจจุบันประมาณ 2% เนื่องจากผู้รับเหมาเสนอแผนงานมาช้า แล้วเราก็ขอปรับแผนแล้วก็ปรับแผนส่งคืนแล้ว ซึ่งโครงการนี้มูลค่า 2,944,000,000 ล้านบาท คือ เกือบ 3 พันล้านบาท ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการทางการท่าเรือจะเป็นผู้บริหารจัดการเอง ซึ่งจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ.2561 โครงการต่อมาคือ โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง

โครงการนี้ ก็มีจุดประสงค์เพื่อลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ จริงแล้ว ประเทศเราขนส่งทางถนนเป็นหลัก รองลงมาคือ รถไฟ และการสร้างท่าเทียบเรือ ก็เป็นทางเลือกให้กับการขนส่งอีกทางหนึ่ง ก็คือ ทางน้ำ เราก็พยายามหาพื้นที่สี่เหลี่ยม สามาเหลี่ยมอย่างท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสงขลา ท่าเรือสุราษฎร์ ท่าเรือประจวบ ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งในอนาคตอาจจะขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ในปัจจุบันที่โครงการก่อสร้างก็ดำเนินไปแล้ว 36% รับรองว่าปี พ.ศ. 2561 เปิดให้บริการแน่นอน เราก็หวังว่าต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ของผู้นำเข้าส่งออกก็คงจะลดลง

“และโครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งก็คือ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 คือว่า เป็นโครงการอภิมหาโปรเจค คือ มีมูลค่า 8 หมื่น 3 พันล้านบาท”

ส่วนรูปแบบการให้บริการ คือการท่าเรือร่วมมือกับเอกชน และกำลังดำเนินการตามขั้นตอน คาดว่าในปี 2559 น่าจะเรียบร้อยในขั้นวางแผนงาน ถ้าเป็นไปตามแผนปลายปี 2560 จะก่อสร้างได้ และปี 2563 ก็จะสามารถเปิดให้บริการได้
   นอกจากนั้นก็มีพื้นที่ที่ท่าเรือกรุงเทพมูลค่าการก่อสร้าง 5 พันล้านบาท และโครงการนี้ได้เสนอโครงการให้คณะกรรมการพิจารณาแล้ว และได้ส่งให้คณะกรรมการทฤษฎีกาตีความ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตีความและคาดว่าเร็วๆ นี้คงจะมีคำตอบให้กับผู้สนใจที่จะลงทุน

ผู้ประกอบธุรกิจจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการเมกะโปรเจค
 นายวรวุฒิ มาลา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางการรถไฟได้แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ด้านการโดยสาร กับด้านบริการขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันการรถไฟมีรายได้การบริการขนส่งสินค้าน้อยกว่าด้านการโดยสารบริการประชาชน ประมาณ 1 ต่อ 2 ซึ่งในอนาคต เราจะเน้นบริการผู้โดยสารสายระยะปานกลางระยะใกล้ๆ ประมาณ 400 ถึง 500 กิโลเมตร คือ โครงการพิษณุโลก จะเน้นจุดนี้เพราะมีความคล่องตัวกว่า และมีตลาดที่เติบโตได้อีกมาก
ส่วนในด้านการขนส่งสินค้า ปัจจุบันรถไฟแชร์ได้แค่ 2% เท่านั้น แต่ในอนาคตน่าจะบริการเพิ่มขึ้นได้ โยมีหวังที่รถไฟรางคู่จะเกิดขึ้นอีก 3 – 4 ปี ข้างหน้า น่าจะเพิ่มศักยภาพอีกพอสมควร ซึ่งสายอีสานก็จะมีทั้งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า ซึ่งต่อไปส่งสินค้าคงต้องไปถึง สปป.ลาวด้วย ก็จะใช้เส้นทางจากขอนแก่นว่งมาแก่งคอย ตัดมาถึงฉะเชิงเทรา แล้วเข้ามาถึงแหลมฉบัง และมาบตพุตได้ สินค้าทางอีสานจะมากที่สุดในประเทศ ก็สามารถขนส่งสินค้ามาถึงแหลมฉบังได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องเข้ามาทางกรุงเทพให้เสียเวลาเหมือนในปัจจุบัน
         นอกจากนั้น เราก็มีสินค้าฝั่งลาว และทางกัมพูชาด้วย ถึงตอนนี้ทางการรถไฟได้ปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายอรัญประเทศเสร็จแล้ว ออกทางสะพาน รอเชื่อมแล้ว รอแต่สะพานทางฝั่งกัมพูชามาเชื่อม และคาดว่าภายในปีนี้ก็คงจะเชื่อมต่อกันได้
เมื่อเราเชื่อมเส้นทางกับทางปอยเป็ต ของกัมพูชาสำเร็จ คาดว่า เขาคงจะมาใช้เส้นทางขนส่งสินค้ามาทางแหลมฉลบังแน่นอน เพราะสะดวกและต้นทุนก็ต่ำกว่าที่เขาจะไปใช้เส้นทางอื่นขนส่งสินค้าและการติดต่อ เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการทางด้านนำเข้าและส่งออกสินค้าคงจะได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ส่วนการท่าเรือจะเป็นการเชื่อมต่อจากการรถไฟประชาชนและประเทศจะได้ประโยชน์ 3 ประเด็นคือ

ประการแรก เม็ดเงินที่เราใส่ไปในระบบเศรษฐกิจเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจปี 29, ปี 60 และ ปี 61
ประการที่สอง เมื่อประเทศตั้งตนเองว่าเป็น HUB แห่งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เมื่อต้นทุนการขนส่งลดลงก็เป็น ฮับ (HUB) ได้ ส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ลดลงแน่นอน
ประการที่สาม คือ ผู้นำเข้าและส่งออกมีทางเลือกเพิ่มขึ้นอีกหลายๆ ช่องทาง”

นอกจากนั้นก็ยังมีระบบการขนส่งทางน้ำให้เลือกอีก และถ้าโครงการเมกะโปรเจคสำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้นมา และเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ประเทศไทย ประชาชนและผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกสินค้าก็จะได้รับผลกระทบโดยตรงในด้ายบวก ซึ่งนี่ยังไม่รวมประเทศเพื่อนบ้านที่จะได้รับประโยชน์กับผลสำเร็จของโครงการนี้
       เพราะถ้าเราทำสำเร็จเรียบร้อยและเป็นศูนย์กลางของ ฮับ (HUB) เมื่อไหร่ มันก็เหมือนกับเราเป็นแม่เหล็กที่จะดูดสิ่งต่างๆ เข้ามาเอง เพราะว่า การพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านของเรายังช้ากว่าเรานั่นเอง
--------------------------------------------------------------------------------






วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

อุโมงค์แก้ปัญหาน้ำท่วม

น้ำมีประโยชน์มากมายมหาศาล แต่ถ้ามองด้านตรงกันข้ามก็สามารถกลับกลายเป็นโทษอนันต์  ถึงขนาดทำลายทรัพย์สิน ทำลายชีวิตของสัตว์น้อยใหญ่ได้แค่วินาที แต่เราก็ต้องอยู่กับมันและพยายามปรับมันให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด  เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมาทางรัฐบาลของประเทศมาเลเชีย มีแนวคิดสร้างอุโมงค์มาแก้ปัญหาน้ำท่วม หลายคนก็คงทราบว่าประเทศมาเลเชีย พื้นที่เกือบร้อยตารางเมตรอยู่ท่วมกลางทะเล เมื่อน้ำขึ้น น้ำลง เกิดพายุ ย่อมีปัญหาตลอดเวลา ปัญหาเรื่องน้ำจึงเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศแบบนี้ แต่มนุษย์ก็ต้องพยายามหาวิธีไม่ให้น้ำมาสร้างปัญหา

  มาเลเชียจึงตัดสิ้นใจสร้างอุโมงค์ใต้ดินโดยรัฐบาลมาเลเชียได้ทำการว่าจ้างบริษัทเอกชนจากประเทศออสเตรีย มาทำการสำรวจเพื่อขุดเจาะ โดยเบื้องต้นกำหนดว่าจะเจาะอุโมงค์ขนาดใหญ่นี้เชื่อมระหว่างเมืองหลวง คือเมืองกัวลาลัมเปอร์ ไปเชื่อมถึงใต้ดินของรัฐสะรังงอ แล้วโยงไปถึงรัฐปะหัง ซึ่งอุโมงค์ดังกล่าวที่เชื่อมกันระหว่างเมืองนี้ มีความยาวประมาณ 44.6  กิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.2  เมตร  จากการสำรวจทางธรณีวิทยา ก่อนทำการขุดเจาะนั้นพบว่าใต้พื้นดินส่วนใหญ่จะเป็นหินแกรนิตซึ่งมีความแข็งและทนทานมา ทำให้ยากแก่การขุดเจาะ ทางทีมานจึงนำเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่ทำงานด้วยระบบโฮดรอลิค ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน เพื่อให้การขุดเจาะให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและเร็วที่สุด เพราะเรื่องนี้ต้องให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลก็ทุ่มเงินงบประมาณในโครงการนี้อย่างเต็มที่ 

เพื่อเร่งอุโมงค์นี้ให้ใช้งานได้เร็วมากที่สุดเท่าที่ทำได้ จะเห็นได้จากการยอมจ่ายค่าจ้างแรงงานให้กับคนงานและทีมงานก่อสร้างมากขึ้น เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้การขุดเจาะอุโมงค์ ครั้งนี้สำเร็จโดยเร็ว





ซึ่งทางรัฐบาลมาเลเชียมีความคาดหวังว่าถ้าการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินแห่งนี้สำเร็จ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหา น้ำท่วมเมืองได้ในระดับที่น่าพอใจ เพราะในแต่ละปีมีมีน้ำท่วมจะสร้างความเสียหายให้แก่คนและทรัพย์สินอย่างมหาศาล หวังว่าถ้าอุโมงค์เสร็จเมื่อมีน้ำเข้ามามาก ก็จะทำการดูดน้ำลงไปยังอุโมงค์ใต้ดิน ขณะเดียวกันก็มีระบบดูดน้ำออกไปสู่ทะเลได้ทันเหตุการณ์ จะทำให้แก้ปัญหาความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมได้ในระยะยาว อย่างถาวร