วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560

อุปกรณ์ป้องกันอันตราย (Safety)

Safety

          เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือ Personal Protective Equipment (PPE)  นับว่ามีความสำคัญ และมีความจำเป็นมาก  สาหรับผู้ปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติงาน การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติในหน้างานทุกหน้าที่ระดับใดต้องสวมใส่ กันทุกคนเพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้  สามารถช่วยลดขีดระดับอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา จากเบาก็กลายเป็นปลอดภัย  เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิม การใช้เครื่องมือ  ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ ป้องกันความปลอดภัยทุกชิ้นล้วนมีความหมาย และเป็นวิธีการหนึ่ง ในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมพื้นที่ทำงาน และสิ่งแวดล้อมบริเวณของการทำงานก่อนการทำงานเสมอ  โดยการกำหนดและ ปรับปรุงสภาพทางวิศวกรรม โดยการกั้นแยกเป็นส่วน ๆ ไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่น  หรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่าง ๆ หรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนกรรมวิธีการทำงาน ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ก็จะประยุกต์วิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมมาใช้ประกอบด้วย เพื่อช่วยป้องกันอวัยวะและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ในส่วนที่จำเป็นต้องสัมผัสกับงาน เพื่อ ไม่ให้ประสบกับอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะทำงานได้

        หมวกป้องกันศีรษะ (Head Protection Devices)   หรือเรียกอีกอย่างว่า หมวกนิรภัย  เป็นอุปกรณ์นี้ ใช้สำหรับสวมเพื่อป้องกันศีรษะไม่ให้ได้รับอันตราย จากการถูกกระแทก  หรือชน จากวัตถุที่อาจจะตกลงมาจากที่สูงแล้วมากระทบกับศีรษะ  หมวกนิรภัย ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ แข็งแรง  ทนทานต่อการถูกกระแทก ส่วนมากแล้วจะทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงเป็นพื้นฐาน  ส่วนรายละเอียดจะแตกต่างกันไปตาม ประเภทของการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่แตกต่างกัน



แว่นนิรภัย (Eye Protection)  อุปกรณ์ป้องกันดวงตาจากสารเคมี หรือ วัสดุอื่น ๆ   ที่อาจเกิดขึ้น ในขณะปฏิบัติงาน  ซึ่งอาจกระเด็นเข้าตา ทำให้ตาบอดได้ โดยปกติแว่นตานิรภัยที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม ประเภทเคมี  ประเภทอุตสาหกรรมงานไม้  ประเภทอุตสาหกรรมงานเครื่องมือ เครื่องจักรกล  ประเภทงานเชื่อมไฟฟ้า และประเภทงานเชื่อมแก็ส โดยแว่นตานิรภัยจะทำจากพลาสติก หรือกระจกนิรภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เศษวัสดุที่แตกออกมา กระเด็นเข้าตาของผู้ปฏิบัติงานได้

                



           หน้ากากกรองฝุ่นละออง (Respirator) เป็นอุปกรณ์ป้องกันการหายใจ เมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น  ใช้กรองฝุ่น ควัน  ฟูมโลหะ กรองก๊าซไอระเหย ที่กระจายออกมาในอากาศ             ซึ่งหน้ากากกรองฝุ่นละอองนี้   ปัจจุบันก็มีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ โดยแบ่งกันไปตามประสิทธิภาพการใช้ในการกรองอากาศ และประเภทของไส้กรอง นั้น ๆ



อุปกรณ์ป้องกันหู  (Ear Protection)  อุปกรณ์นี้ใช้สำหรับปิดหู  ป้องกันเสียงที่ดังมากเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายต่อเยื่อหู ของผู้ที่กำลังปฏิบัติงานได้  นิยมใช้ในการทำงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ  เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งการทำงานกับเครื่องจักรกลหนัก เช่น เครื่องถลุงเหล็ก เครื่องเจาะปูน เครื่องปาดคอนกรีต เครื่องจักรกลอัตโนมัติ ขนาดใหญ่ที่มีเสียงเกินดังที่หูจะรับได้หรือไม่ ก็เป็นการทำงานในพื้นที่ ๆ ควรระมัด ระวังในเรื่องเสียงเป็นกรณีพิเศษ



                                                           
         ถุงมือนิรภัย (Hand Protection) ใช้เพื่อป้องกันมือจากการถูกความร้อน ความสกปรก การกระแทกสะเก็ดไฟ การเสียดสีหรือ การบาดคม ถุงมือนิรภัยมีหลายประเภท เช่น ถุงมือป้องกันงานเลื่อยด้วยมือ ถุงมือป้องกันงานเครื่องจักร ถุงมือป้องกันทั่วไป ถุงมือป้องกันงานเย็น ถุงมือป้องกันงานเชื่อม และงานประเภทอื่นที่ต้องการความปลอดภัย ในขณะที่ใช้มือทำงานที่อาจเสี่ยงอันตราย  ส่วนวัสดุที่ใช้ทำถุงมือนั้น  จะนิยมใช้วัสดุประเภท  หนังวัว หนังกวาง หนังหมู และหนังแพะ  เนื่องจากมีความหนา ทดทาน และยึดหยุ่นต่อการเคลื่อนไหวได้ดี






 

   เสื้อสะท้อนแสง (Reflective Clothing)  ลักษณะเสื้อเป็นตาข่าย นิยมใช้สีส้ม คาดแถบสีที่ทำให้สะท้อนแสงหรือ ตาข่ายสีเขียวคาดแถบสะท้อนแสงสีเงินบรอนซ์ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ มองเห็นผู้สวมใส่ได้ชัดเจน ขณะปฏิบัติหน้าที่ในงาน   เช่น งานถนนตีเส้นจราจร งานก่อสร้าง และงานต่าง ๆ ในโรงงาน เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัย ในขณะทำงาน








เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายจากการทำงานในที่สูง จะต้องมีสายรัดลำตัวคาดไว้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่หัวไหล่ หน้าอก เอว และขา ให้เกี่ยวติดกันกับสายช่วยชีวิต เพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นเนื่องจากเข็มขัดนิรภัย (Safety Belt)  นี้จะเฉลี่ยแรงกระตุก หรือกระชากที่เกิดขึ้น ไปที่ลำตัวด้วย  และเข็มขัดนี้ส่วนมาก จะผลิตมาจากวัสดุที่มีความอ่อนนุ่ม แข็งแรง ทดทาน และยืดหยุ่นได้ดี เพื่อช่วยลดแรงกระแทกของลำตัวได้อีก ชั้นหนึ่งด้วย




รองเท้านิรภัย (Foot Protection)  หรือบางครั้งเรียกกันว่า รองเท้าหัวเหล็ก เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมา เพื่อต้านทานแรงกระแทก  ต้านแรงทับจากวัสดุ  หรือต้านแรงบีบทับ บริเวณหัวแม่เท้า  เพราะรองเท้าประเภทนี้มีส่วนประกอบตรงปลายเท้าเป็นโครงเหล็ก  ผลิตมาเพื่อสำหรับทนแรงวัตถุหล่นทับ ใส่ป้องกันกระดูกเท้าส่วนบน ป้องกันอันตรายจาก กระแสไฟฟ้ารั้ว  ป้องกันแรงกระแทก  และป้องกันน้ำซึมเข้ารองเท้า   ป้องกันการรั้วซึมของน้ำมัน และสารเคมี  ซึ่งรองเท้าประเภทนี้ ได้ผ่านการทดสอบแรงบีบอัดมาแล้ว  นับว่าเหมาะสำหรับใช้ในงานภาคอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอันตราย


                    การตระหนักถึงความจำเป็นในการสวมเครื่องป้องกันอันตรายในขณะทำงานนั้น  นับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากในการทำงานในสถานที่ ที่อาจจะเกิดอันตรายได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะงานที่เสี่ยงอันตรายสูง ประเภทงานก่อสร้าง  งานอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลหนัก  งานที่เกี่ยวข้องกับสารอันตราย และอื่น ๆ อีกมากมาย ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องให้ความใส่ใจเป็นเรื่องพิเศษว่าต้องทำ ต้องปฏิบัติ ตัวผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในความเสี่ยงโดยตรงต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน อย่างครบถ้วนถ้าไม่มีก็ควรก็ควรเรียกหาจากผู้เป็นหัวหน้างาน เพราะเรื่องการจัดหาอุปกรณ์นี้ก็เป็นหน้าที่ของผู้เป็นหัวหน้างาน หรือผู้บริหารโดยตรง  โดยเฉพาะผู้บริหารก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องทำการอบรม ทำความเข้าใจใสเรื่องความปลอดภัยในการทำงานให้มาก เพราะนอกจากจะลดความสูญเสียในระดับบุคคลได้มากแล้ว ยังลดความสูญเปล่าในระบบเศรษฐกิจได้อีกมาก อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในงานผลิตของภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมทั้งประเทศได้อีกด้วย


                   ---------------------------------------------
สนับสนุนภาพ และข้อมูล จาก 
บริษัท ไทแทน เครน จำกัด    1/19 หมู่ 1 ต.พิมพา อ.บางปะกง จ. ฉะเชิงเทรา 24810 ประเทศไทย
โทร.  038-571-666-9 ,  แฟ็กซ์. 038-571-665